Skip links
View
Drag

Tech Talk

Tags

F5 กับการนำ Edge Computing มาใช้งานจริง

ความจริงแล้วการใช้ระบบแบบ Centralized Computing หรือ Centralized Management ทำให้ระบบตอบสนองข้อมูลต้องทำงานหนัก และใช้พละกำลังไปกับการประมวลผลข้อมูลที่ไม่จำเป็น รวมถึงยังทำให้ต้องเสียงบประมาณในการจัดการกับจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบส่วนกลางและระบบ Cloud ที่เกินความเป็นจริงอีกด้วย⠀⠀เพื่อแก้ปัญหานี้ Edge Computing จึงได้ก้าวเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่ออุปกรณ์ต่างๆให้ทันท่วงทียิ่งขึ้น⠀⠀โดย Edge Computing คือการวางตัวประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นไว้ใกล้กับจุดของอุปกรณ์มากที่สุด สำหรับจัดการกับข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังส่วนอื่นๆที่จำเป็นโดยไม่ต้องผ่านจุดศูนย์กลางเพื่อลดระยะเวลาการตอบสนองทำให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างบริษัทที่นำระบบนี้มาใช้ก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง F5 นั่น

MFEC

MFEC

Tags

PDPA 7 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร⠀⠀บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ 1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)⠀⠀การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ หรือเผยแพร่ให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล 2. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)⠀⠀ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูล ให้ส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้  4. สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)⠀⠀เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ 5. สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)⠀⠀หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบ ทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้ 6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย 7. สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)⠀⠀เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย⠀⠀หมายเหตุ : ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

MFEC

MFEC

Tags

เทรนด์มาแรง Hybrid Cloud ระบบจะตอบโจทย์ลูกค้าในปี 2021

ทุกวันนี้ Application ของลูกค้ามีแนวโน้มที่จะทำงานอยู่ในทั้ง On Premise และ On Cloud หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hybrid Cloud ที่จะมาตอบโจทย์การสื่อสารของข้อมูลระหว่างระบบทั้งสองแบบที่ลูกค้าต้องการ⠀⠀⠀เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเก็บรักษาข้อมูลแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นที่จริงในการจัดการกับระบบ รวมถึงใช้ทีม IT ภายในของบริษัท กับการใช้ระบบ Cloud ที่โดยปกติผู้ใช้สามารถเลือกได้ระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud หลายๆคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การใช้แบบ Cloud จะมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรได้มากยิ่งขึ้น⠀⠀⠀แต่หากต้องเลือกระหว่างการใช้ Private Cloud หรือ Public Cloud ผู้ใช้อาจรู้สึกว่าเป็นการเลือกที่ตัดสินใจได้ยาก เพราะหากต้องเลือกเพียงแบบใดแบบหนึ่ง จะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่คาดหวังไว้ ดังนั้นการมี Hybrid Cloud เข้ามาจะทำให้การถ่ายโอนข้อมูลจาก Private และ Public ง่ายมากขึ้น โดยที่ผู้ใช้สามารถจ่ายค่าบริการได้ตามการใช้งานจริง และไม่ต้องเสียพื้นที่ในบริษัทเพื่อจัดเก็บและดูแลรักษาระบบ⠀⠀⠀ดังนั้น วันนี้เราต้องกลับมาคิดกันอีกครั้งว่า เรามี Solution ที่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็น Hybrid Cloud แล้วหรือยัง หากยังไม่มี คงต้องรีบคิดกันแล้วว่าจะหา Solution ที่จะมาตอบโจทย์กับคำว่า Hybrid ได้อย่างไรบ้าง

MFEC

MFEC

Tags

Yahoo Japan ควบรวมกิจการกับ Line ยักษ์ใหญ่ด้าน Messenger

เคยสงสัยกันไหมว่าแบรนด์ดังๆ ตอนนี้เขามี Plaforms อะไรกันบ้าง เช่น Google ที่ตอนนี้มีฟังก์ชันที่สามารถครอบคลุมได้ทั้ง Platforms ในหัวข้อ Advertising (Google Ads), E-Commerce (Google Shopping), Payment (G Pay) และ Logistics (Google Express) ซึ่งถือว่าครอบคลุมทุกฟังก์ชันการทำงานของสื่อๆ หนึ่งแล้ว ณ เวลานี้⠀⠀⠀⠀⠀⠀แต่เรื่องที่น่าจับตามองไปยิ่งกว่านั้นก็คือการควบรวมระหว่าง Yahoo Japan และ ยักษ์ใหญ่ของ Messanger อย่าง Line เพื่อที่จะเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้ครอบคลุมตลาดออนไลน์ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น Search Engine, Finance ซึ่งในขณะนี้ก็เป็น Platform หลักด้านการเงินในประเทศญี่ปุ่น หรือจะเป็น Health Tech (เทคโนโลยีทางการแพทย์) ที่มีศักยภาพที่แข็งแรงพอสมควรในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้⠀⠀⠀⠀⠀⠀โดยการควบรวมครั้งนี้ ทางบริษัทแม่ Z Holdings ได้คาดการไว้ว่ายอดขายของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นถึงสองล้านล้านบาทภายในปี 2566

MFEC

MFEC

Tags

NVIDIA แก้ปัญหาให้เกมเมอร์ที่โดนเหมืองขุด Bitcoin ขโมยการ์จอเล่นเกม

เนื่องจากเดือนที่ผ่านมาราคา Bitcoin ได้กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้หลายๆ คนกลับมาให้ความสนใจกับ Cyptocerrencies หลังจากเงียบหายไปพักหนึ่ง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือเหล่าเหมืองขุด Bitcoin ทั้งหลายได้กว้านซื้อการ์ดจอเล่นเกมไปหมด จนทำให้เกมเมอร์ออกมาโวยวายเพราะไม่สามารถเล่นเกมได้⠀⠀⠀⠀⠀⠀NVIDIA ที่เห็นวิกฤตนี้จึงผุดไอเดีย เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยออกชิปมาเพื่อการขุดเหรียญโดยเฉพาะ แต่มีการคาดการณ์ไว้ว่าชิปตัวนี้อาจจะแพงมาก พอๆ กับชิประดับองค์กรกันเลยทีเดียว ถือว่า NVIDIA ยิงปืนครั้งเดียวได้นกถึงสองตัว ทั้งสร้างยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ และยังป้องกันการกว้านซื้อการ์ดจอเล่นเกมมาใช้ขุดเหรียญจนทำให้ราคาการ์ดจอตกอีกด้วย ⠀⠀⠀⠀⠀⠀อีกบริการหนึ่งก็คือ My Content ซึ่งเป็นการนำเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ เข้ามาประกอบกับตัวคอนเทนต์ของเราเอง รวมถึงใส่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของเนื้อหาให้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้นหมายความว่าบริการตัวนี้จะช่วยในเรื่อง Seach Engine Optimization (SEO) และ Data Method อย่าง H1 และ H2 รวมถึง Title ซึ่งจะทำให้คอนเทนต์ของเราติดตลาดและปรากฏบนหน้า Google มากขึ้น

MFEC

MFEC

Tags

Al for Content Creation Frase และ My Content

Artificial Intelligent (AI) อย่างที่ทุกคนคงจะทราบกันว่า ปัจจุบันมีการนำ Artificial Intelligent (AI) มาช่วยในการทำการตลาดอย่างกว้างขวาง ครั้งนี้ AI ก็ยังได้เข้ามาช่วยในการทำคอนเทนต์ซึ่งหลายคนก็อดสงสัยกันไม่ได้ว่าเจ้า AI จะมาช่วยสร้างคอนเท้นต์แบบที่คนทำได้อย่างไร⠀⠀⠀⠀⠀⠀หนึ่งบริการที่จะนำมาใช้ในครั้งนี้มีชื่อว่า Frase ซึ่งมีฟังก์ชันที่จะเข้ามาช่วยทำ Content Brief หรือก็คือเอกสารที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ สำหรับการทำคอนเทนต์ ต่างกับแต่ก่อนที่ปกติจะใช้บทสรุปจาก Creative/Copy Writer หรือ Content Writer โดยบริการตัวนี้จะสามารถให้คำแนะนำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรคน รวมถึงสร้างคอนเทนต์เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภค⠀⠀⠀⠀⠀⠀อีกบริการหนึ่งก็คือ My Content ซึ่งเป็นการนำเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ เข้ามาประกอบกับตัวคอนเทนต์ของเราเอง รวมถึงใส่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของเนื้อหาให้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้นหมายความว่าบริการตัวนี้จะช่วยในเรื่อง Seach Engine Optimization (SEO) และ Data Method อย่าง H1 และ H2 รวมถึง Title ซึ่งจะทำให้คอนเทนต์ของเราติดตลาดและปรากฏบนหน้า Google มากขึ้น

MFEC

MFEC

Tags

SpaceX เตรียมส่งดาวแบบ Rideshare รวดเดียว 143 ดวง

SpaceX เตรียมยิงจรวด Falcon 9 ตามภารกิจ Transporter-1 นำส่งดาวเทียมจำนวน 143 ดวงตามโครงการ Rideshare ที่เปิดให้จองเที่ยวบินไปเมื่อต้นปี 2020 นับเป็นการส่งดาวเทียมจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา⠀⠀⠀⠀⠀⠀ราคาตามหน้าเว็บโครงการ Rideshare ของ SpaceX คิดค่านำส่งดาวเทียมกิโลกรัมละ 5,000 ดอลลาร์ ขั้นต่ำ 200 กิโลกรัม ลูกค้าที่เปิดเผยตอนนี้มีบริษัท Planet ที่ซื้อสล็อตนำส่งดาวเทียม SuperDove รวดเดียว 48 ดวง ส่วน SpaceX เองก็นำส่งดาวเทียม Starlink ขึ้นไปด้วย 10 ดวง⠀⠀⠀⠀⠀⠀ธุรกิจนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กเป็นธุรกิจที่หลายบริษัทพยายามเจาะตลาด เช่นบริษัท Rocket Lab ที่มีจรวด Electron ระวางบรรทุก 300 กิโลกรัม สำหรับการส่งดาวเทียมขึ้นวงโคจร LEO เดิมทีจุดขายของจรวดขนาดเล็กเช่นนี้คือการกำหนดช่วงเวลาภารกิจได้เอง โดยไม่ต้องรอดาวเทียมหลักที่อาจจะล่าช้า แต่โครงการ Rideshare ของ SpaceX ทำให้องค์กรที่ต้องการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถกำหนดตารางภารกิจได้ง่ายขึ้นเพราะมีรอบการนำส่งแน่นอน แถม SpaceX ยังเคยบอกว่าหากดาวเทียมล่าช้าก็สามารถขอเลื่อนภารกิจได้ แม้จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมก็ตาม

MFEC

MFEC

หยวนดิจิทอล ความท้าทายใหม่ของธนาคารกลางจีน

ช่วงปีที่ผ่านมาในโลกการเงินมีข่าวเกี่ยวกับเงินหยวนดิจิทัลกันมาก แม้ในช่วงแรกชื่อจะทำให้เข้าใจไปได้ว่าหยวนดิจิทัลเป็นเหมือนคริปโตเคอเรนซี่ที่มีมากมายหลายสกุลในโลกตอนนี้ แต่เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มทดสอบหลายครั้งทำให้มีข้อมูลออกมาเพิ่มขึ้นว่าหยวนดิจิทัลนั้นคล้ายกับพร้อมเพย์ของไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นแอปที่ผูกเงินเข้ากับบัญชีธนาคารโดยตรง เมื่อร้านค้ารับเงินจากลูกค้าแล้วก็จะได้รับเงินเข้าบัญชีธนาคารทันที แนวทางการใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ของจีนนั้นเริ่มต้นจากเอกชนเป็นหลัก โดยบริษัทเช่น Alipay และ WeChat สร้างระบบของตัวเองทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ QR ของตัวเอง กระบวนการโอนเงินระหว่างกันก็เป็นระบบภายใน หากต้องการโอนเงินกลับไปยังบัญชีธนาคารต้องเสียค่าธรรมเนียม แม้ว่าแนวทางนี้จะทำให้พัฒนาการเงินอิเล็กทรอนิกส์ในจีนเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็สร้างความกังวลต่อการผูกขาดตลาดมากขึ้น ธนาคารกลางของจีนพยายามผลักดันหยวนดิจิทัล ด้วยการ “ทดสอบ” ระบบจากการแจกเงินคนละ 200 หยวน (ประมาณหนึ่งพันบาท) ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับบริษัทเอกชนที่เคยอาศัยการแจกเงินเพื่อให้คนทั่วไปหันมาใช้งานเหมือนกัน ในแง่เทคโนโลยี หยวนดิจิทัลมีความก้าวหน้ากว่าพร้อมเพย์ของไทยอยู่บ้างเพราะผู้ใช้สามารถจ่ายเงินได้แม้ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต นับว่าน่าสนใจเพราะเราหลายคนคงเคยเจอปัญหากกันบ้างว่าจะจ่ายเงินผ่านพร้อมเพย์แต่แอปโหลดช้าเนื่องจากอยู่ในพื้นที่อินเทอร์เน็ตไม่ดีนัก สร้างความลำบากทั้งคนซื้อคนขายกันพอสมควร นอกจากนี้หยวนดิจิทัลยังใช้งานผ่านบัตรได้เช่นเดียวกับบัตรเดบิตในไทย หรือการใช้ผ่านแอปในโทรศัพท์เองก็รองรับการจ่ายผ่าน NFC ลดปัญหาการสแกน QR ไม่ติดไปอีกส่วน แม้จะน่าสนใจในแง่เทคโนโลยี แต่การดึงประชาชนและร้านค้าที่รองรับ Alipay และ WeChat Pay กันเป็นวงกว้างแล้วให้มาใช้งานหยวนดิจิทัลก็คงเป็นความท้าทายของธนาคารกลางจีนอีกมาก – – – โดยคุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล Chief Technology Officer, MFEC

MFEC

MFEC

Tags

Virtual Cloud Network – The Future of Network Security in the Cloud.

ทำให้พบอุปสรรคจากการเชื่อมต่อเครือข่ายทำให้ไม่สามารถใช้งานเชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในขณะที่กำลังประชุมออนไลน์ Internet ที่บ้านดันมีการใช้งานหลายคน ทำให้เกิดการติดขัดขึ้นระหว่างการประชุม ดังนั้นสิ่งที่จะมาช่วยให้การเชื่อมต่อสามารถทำงานได้อย่างมีสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำงานให้ง่ายขึ้นคือ SD-WAN  มีรายงานออกมาถึงผลการใช้งาน SD-WAN กล่าวว่า “เมื่อลูกค้านำกล่อง SD-WAN ไปติดตั้งและให้คนอื่นๆ ทดลงใช้ที่บ้านเป็นประมาณ 2 สัปดาห์ ผลปรากฏว่าเทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ Network ถึง 90%” ความสามารถของ SD-WAN จะช่วยให้คนที่ใช้ได้สัมผัสกับประสบการณ์เกี่ยวกับ WAN ที่เป็นส่วนตัวในบ้านของตัวเอง ความก้าวหน้าครั้งใหม่ของเทคโนโลยี SASE ที่ VMware นำเสนอนั้นจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในโลกของการทำงานออนไลน์ แต่เดิมนั้น Vmware จะถูกพูดถึงในเรื่องของ security นั้นคือ black boxes, appliances, firewall, web proxies ถูกนำไปใช้งานในรูปแบบของ DMZ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Vmware นิยามสิ่งเหล่านี้แล้วนำมาพัฒนาเป็น software และถ้านำ service เหล่านั้นมาใช้งานผ่านสิ่งที่ Gartner เรียกว่า Secure Access Services Edge หรือ SASE และนี่คือสิ่งที่ VMware กำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้อย่างมาก SD-WAN/SASE – Feature สำหรับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน  Secure Access Service Edge (SASE) ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้  Secure SD-WAN   เป็นฟังก์ชั่นสำหรับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ WAN โดยมาช่วยในการรองรับแอปพลิเคชันที่ต้องการ performance สูงๆ Zero-trust Network Access   การจัดการสิทธิ์การเข้าใช้งาน โดยทำงานร่วมกับ การเพิ่มการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อเป็นการรับรองอีกชั้นหนึ่งหรือที่เรียกว่า Multifactor Authentication (MFA)  Firewall-as-a-Service (FWaaS) Fire  Firewall บน cloud ในรูปแบบของ service มีความสามารถด้านความปลอดภัยสามารถทำ filtering URL, การป้องกันการ attack ต่างๆ และยังสามารถทำ policy management ที่เหมือนกันครอบคลุมทั้ง network ในองค์กรได้ Secure web gateways (SWG)  ป้องกันภัยคุกคามต่างๆ จากโลก Cyber และยังป้องกันการเข้าถึงของข้อมูลใน Website ที่ไม่ต้องการ อีกทั้งสามารถป้องกันไม่ให้ User ที่ไม่มีสิทธิ์สามารถใช้งานได้โดยกำหนดตามนโยบายของบริษัท VMware Tanzu Service Mesh  สร้างขึ้นบน VMware NSX เป็นโซลูชั่นเครือข่ายบริการระดับองค์กรของ VMware ที่ให้การควบคุมและความปลอดภัยสำหรับไมโครเซอร์วิสสำหรับผู้ใช้งานและข้อมูลในคลัสเตอร์และคลาวด์ทั้งหมดในระบบมัลติคลัสเตอร์และมัลติคลาวด์ โดย Tanzu service mesh จะช่วยให้ขั้นตอนการปกป้องและตรวจสอบไมโครเซอร์วิสง่ายขึ้นดังนี้ ใช้ Global namespace เพื่อขับเคลื่อนความสามารถในการทำงานข้าม platform และ cloud อื่นๆ ได้ กำหนด policy สำหรับการทำ failover และส่วนที่เหลือนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ

MFEC

MFEC

ทดลองใช้ Amazon CodeGuru ผู้ช่วยตรวจสอบคุณภาพโค้ดอัตโนมัติจาก AWS

การพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้มีความปลอดภัยนั้นเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในทุกวันนี้ ไม่ว่าโปรแกรมเมอร์แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญเพียงใดก็มีโอกาสที่จะพลั้งเผลอเขียนโค้ดในรูปที่แม้จะทำงานได้ แต่มีโอกาสแสดงบั๊กเมื่อทำงานในโลกความเป็นจริง การตรวจสอบโค้ดด้วยเครื่องมือต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่เราควรต้องทำเสมอ ทุกวันนี้ภาษาโปรแกรมส่วนมากมีโครงการตรวจสอบโค้ดที่เรียกว่า Lint อยู่ภาษาที่ได้รับความนิยมสูงๆ ก็จะมีโครงการในกลุ่มเดียวกันอยู่หลายตัวให้เลือกใช้⠀⠀⠀⠀แต่ Lint มักมีข้อจำกัดจากการวิเคราะห์โค้ดตามกฎตายตัวชุดหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถแนะนำแนวทางการเขียนโค้ดที่ซับซ้อนขึ้นไป เช่น การใช้ไลบรารีอย่างถูกวิธี ข้อจำกัดเช่นนี้ทำให้หลายโครงการมีเงื่อนไขให้นักพัฒนารีวิวโค้ดกันเองเป็นขั้นสุดท้ายก่อนรับโค้ดเข้าระบบ แต่หลายทีมก็อาจจะไม่พร้อมวางกระบวนการรีวิวโค้ดเช่นนั้น (และแม้แต่คนรีวิวเองหลายครั้งก็มองข้ามจุดผิดพลาดกันได้) การใช้เครื่องมือตรวจสอบโค้ดที่เก่งกาจขึ้นจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับหลายๆ คน⠀⠀⠀⠀ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่อย่าง AWS เปิดบริการ CodeGuru Reviewer ให้บริการตรวจสอบคุณภาพโค้ดในระดับลึก โดยเมื่อตอนเปิดตัวในปี 2019 นั้นรองรับเฉพาะโค้ดภาษา Java เท่านั้น แต่มาประกาศเพิ่มภาษา Python ในงาน re:Invent 2020 ที่ผ่านมา⠀⠀⠀⠀CodeGuru Reviewer อาศัยเทคโนโลยี machine learning เพื่อจับรูปแบบโค้ดที่ซับซ้อนขึ้นกว่าซอฟต์แวร์ Lint แบบเดิมๆ มันสามารถจับบั๊กที่พบบ่อยๆ เช่น เผลอว่าข้อมูลลับไว้ในโค้ด (credential), การใช้และคืนทรัพยากรไม่สมบูรณ์ (resource leak), ไปจนถึงการวิเคราะห์หา deadlock ในโค้ด⠀⠀⠀⠀ เงื่อนไขการใช้งาน Amazon CodeGuru:– เราต้องเก็บโค้ดไว้ใน git repository ที่ CodeGuru รองรับ– ได้แก่ AWS CodeCommit, Bitbucket, GitHub, และ GitHub Enterprise⠀⠀⠀⠀ เริ่มการทดลองใช้งาน Amazon CodeGuru:– เมื่อเชื่อมต่อ repository เข้ากับ CodeGuru แล้วเราสามารถเลือกรีวิวโค้ดได้สองแบบ คือการรีวิวโค้ดทั้งหมด (full repository) และการรีวิว pull request ที่อาจจะเหมาะกับการตรวจสอบโค้ดก่อนรวมเข้า branch หลัก– เมื่อสั่งรันการวิเคราะห์โค้ดแล้วก็ต้องรอให้ CodeGuru รันสักระยะหนึ่ง (โครงการที่ผมลองเป็นโค้ดเพียง 130 บรรทัด ใช้เวลาวิเคราะห์ประมาณ 5 นาที)– เมื่อรันเสร็จแล้ว CodeGuru Reviewer จะแสดงคำแนะนำ พร้อมบอกเหตุผลว่าทำไม CodeGuru จึงมองว่าโค้ดส่วนนี้มีปัญหา โครงการที่ผมใส่โค้ดเข้าตรวจสอบนี้ CodeGuru พบจุดที่แนะนำเพียงจุดเดียว⠀⠀⠀⠀ ผลลัพธ์จาก Amazon CodeGuru:– คำแนะนำของ CodeGuru แจ้งเตือนการเปิดและปิดไฟล์โดยใช้ฟังก์ชั่น open/close โดยชี้ให้เห็นว่าแม้โค้ดจะทำงานได้ดี แต่แนวทางการเขียนโค้ดเช่นนี้ไม่เป็นไปตาม best practice ที่โครงการ Python แนะนำ– หากมีความผิดพลาดในโค้ดอาจจะทำให้เกิดการเปิดไฟล์ค้างไว้กลายเป็น resource leak ทำให้ซอฟต์แวร์ทำงานช้ากว่าปกติ หรืออาจจะทำให้เซิร์ฟเวอร์ไม่เสถียรได้⠀⠀⠀⠀จะเห็นว่าการใช้งาน CodeGuru นั้นใช้งานได้ไม่ยาก และสามารถใช้งานแยกจากบริการอื่นๆ ได้แม้จะไม่ได้เห็นผู้ใช้บริการ AWS แต่เดิมก็ตาม โดยซอฟต์แวร์วิเคราะห์โค้ดนั้นหลายครั้งมีราคาค่อนข้างสูง แต่ CodeGuru คิดค่าใช้จ่ายตามจริงโดยไม่ต้องลงทุนก้อนใหญ่ก่อนเริ่มใช้งาน⠀⠀⠀⠀ การคิดค่าบริการ Amazon CodeGuru:โดยให้บริการฟรีเดือนละ 30,000 บรรทัด และเกินจากนั้นคิดค่าบริการ 0.5 ดอลลาร์ต่อ 100 บรรทัด (นับบรรทัดโค้ดตามการใช้งานจริง) และยังใช้งานได้ฟรีเดือนละ 30,000 บรรทัดต่อบัญชี  – – – โดยคุณลิ่ว วสันต์ ลิ่วลมไพศาล

MFEC

MFEC