Skip links
View
Drag

Product

Tags

รู้จักกับ Frankenstein OEE (Overall Equipment Effectiveness)

MFEC เรามีบริการเทคโนโลยี IoT ที่เลือกได้ตามความต้องการของทุกภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมพร้อมมุ่งสู่เป้าหมาย Smart City : Next Generation ในอนาคต วันนี้จึงจะพามาทำความรู้จักกับ 1 ใน Solution ของ IIoT (Industrial Internet of Things) ที่เป็นเทคโนโลยี Internet of Things สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมนั่นก็คือ “Frankenstein OEE (Overall Equipment Effectiveness)” เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร เพราะการใช้งานเครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องวางแผนการใช้งานเครื่องจักรให้มีกำลัง การผลิตที่เต็มเวลา รวมถึงการบำรุงรักษาเครื่องจักรที่สม่ำเสมอ ซึ่ง Frankenstein OEE จะมาเป็นผู้ช่วยที่จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด #Frankenstein OEE ช่วยแก้ปัญหาระยะเวลาการผลิตสินค้าที่ไม่เท่ากันในแต่ละวัน (Cycle time) ปัญหาหยุดการผลิตบ่อยเพราะของเสียจากการผลิตมีจำนวนมาก (Unplan Downtime) ปัญหาไม่ทราบกำลังการผลิตของโรงงาน (Yield Capacity) และที่สำคัญจะทำให้การควบคุมมาตราฐานของเครื่องจักรมีคุณภาพสามารถทำงานได้อย่างเต็มสมรรถนะ สนใจสอบถามข้อมูลติดต่อได้ที่ Email: Ittikorn@mfec.co.th และสามารถ Download Brochure ได้ที่ https://www.mfec.co.th/th/iiot-solution/

MFEC

MFEC

Tags

VMware Virtual SAN เข้ามาพลิกโฉม Hyper-Converged Infrastructure ได้อย่างไร?

ณ ตอนนี้แทบทุกองค์กรต่างหันมาให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี HCI หรือ Hyper-Converged Infrastructure ซึ่งมีส่วนประกอบหลักๆ คือ Software-Defined Compute and Software-Defined Storage บทความนี้จะชี้ให้คุณเห็นว่า HCI คือเป็นแนวทางขององค์กรคุณหรือไม่ และหากคุณจะเริ่ม คุณจะต้องคำนึงถึงเรื่องอะไรบ้าง คำถาม classic ที่เกี่ยวกับ Server แทบทุกองค์กรตั้งขึ้นไม่พ้นคำถามเรื่องปัญหาการแชร์เนื้อที่ดิสก์จัดเก็บข้อมูล ให้เกิดเป็น Pool Capacity Resource ในกรณีที่เกิดขึ้น เช่น Server A มีการใช้งานเนื้อที่สูงจนเกือบเต็มแล้ว แต่ไม่สามารถขยายเพิ่มเติมได้ ในขณะที่ Server B มีเนื้อที่เหลืออยู่มาก และต้องการนำเอาเนื้อที่ disk ของ Server B ไปให้กับ Server A หรือแม้กระทั่งในกรณีที่ Server หยุดทำงาน  และต้องการกู้คืนข้อมูลและสามารถใช้ Server สำรองช่วยทำงานแทน ซึ่งทางออกเดิมคือการใช้ Storage Area Network หรือ SAN ซึ่งสามารถจัดการเนื้อที่ของ Server ได้ตามต้องการ แต่ด้วยทางเลือกใหม่ที่เกิดขึ้น คือ เทคโนโลยี Hyper-Converged Infrastructure ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากถึง 80% เมื่อเปรียบเทียบกับ SAN และยังมีความโดดเด่นกว่า เนื่องจากสามารถปกป้องข้อมูล โดยมีการทำงานแบบ Native HA ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของระบบที่จุดเดียว (Single Point of Failure) และไม่มีผลกระทบกับระบบในวงกว้าง From Traditional Infrastructure to Hyper-Converged Infrastructure Credit: http://www.helixstorm.com องค์กรของคุณเหมาะสมกับ Hyper-Converged Infrastructureหรือไม่1) คุณมีความต้องการใช้ VDI (Virtual Desktop Infrastructure)2) คุณใช้งาน Virtualization ผ่าน IP Network โดยต้องการแชร์ resources และใช้งานแบบ Cluster ระบบเพื่อสามารถใช้งานได้ต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีผลกระทบกับการทำงาน3) คุณมีสำนักงานสาขา (Branch Office)4) คุณกำลังมองหา Infrastructure สำหรับสร้าง Private Cloud ที่มีประสิทธิภาพเพื่อคุ้มค่ากับการลงทุน อันที่จริงความคิดพื้นฐานของ HCI นั้นมี vendor หลากหลายบริษัทได้ออก product มาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ โดยแต่ละ vendor เองก็มีแนวคิดในการต่อยอดที่แตกต่างกันออกไป แต่หากต้องการจะตอบโจทย์ระดับองค์กรแล้ว VMware vSphere นั้นก็ถือเป็นเทคโนโลยี Virtualization และ Hypervisor ที่เหมาะสมที่สุดในเวลานี้ ในขณะที่  VMware Virtual SAN (vSAN) เองที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้สามารถทำงานร่วมกับ VMware vSphere ได้ในระดับ Kernel และยังทำงานได้เสมือนเป็นระบบเดียวกัน จึงง่ายสำหรับการต่อยอดการใช้งาน ไม่ใช่เพียงแต่ VMware vSphere  ที่สามารถทำงานร่วมกันได้เท่านั้น VMware vSAN ยังรองรับ Server รุ่นใหม่ๆ

MFEC

MFEC

Tags

Cisco Connect ASEAN: The Resilience to Recovery

กว่า 2 ปีที่ผ่านมาแล้วที่ทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่กับคำว่า Pandemic หลายๆ องค์กรมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งนี้ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์อยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งต่อไปที่ควรเตรียมตัวเพิ่มเติมไว้คือ การกลับมาใช้ชีวิตในแบบที่เปลี่ยนไป แบบ Next Normal ที่จะต้องอยู่กับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วกว่าปัจจุบันเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่ Digital ได้อย่างเร็วที่สุด และเช่นเคยทุกปี Cisco จะจัดอีเวนท์ Cisco Connect ที่ให้ทุกคนได้อัปเดตเรื่องราวของเทคโนโลยีกันอยู่เสมอ โดยเนื้อหาของ #CiscoConnectASEAN รอบนี้จะกล่าวถึง 5 Pillars ที่แตกต่างกัน ในการประชุมย่อยต่างๆ เพื่อความสอดคล้องกับรูปแบบขององค์กรที่กำลัง Transform เข้าสู่การทำงานแบบ Digital ห้วข้อแรกเกี่ยวข้องกับเรื่อง แอปพลิเคชันในวิสัยทัศน์ใหม่ ห้วข้อนี้ได้รับเกียรติ จาก CTO/Co-Founder ของ AlgoSec มาเล่าให้ฟังถึงความสำคัญของการเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Micro-Segmentation ที่จะต้อง ตรวจสอบหรือกรอง east-west traffic จากแต่เดิมที่มุ่งเน้นไปที่ north-south traffic เป็นส่วนใหญ่ รวมถึงตัวอย่าง Use Case ของ Solution ของ Cisco Hybrid Cloud ต่างๆ จากกลุ่มลูกค้าที่ได้ Transform องค์กร เข้าสู่การทำงานแบบ Digital ในรูปแบบต่างๆ หัวข้อที่สอง เรื่อง รักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร ความปลอดภัยในองค์กรถือเป็นอีกเรื่องที่สำคัญมากเช่นกัน เพราะบริษัท MFEC เองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง Environment และ Ecosystem ขององค์กรให้รองรับการใช้งานสู่ Zero Trust มากขึ้น โดย Solution จาก Cisco Zero Trust มุ่งเน้นเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับ Application และ Environment ต่างๆ โดยเน้นการ ป้องกันการโจมตีจาก User และ อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงการตรวจสอบ Location ของเข้าถึงอย่างเหมาะสมจาก ผลิตภัณท์ Duo ที่มากกว่าการทำ MFA นอกจากนี้ยังผสมผสาน ข้อมูลจาก Cisco Security Product ต่างๆ ผ่าน Cisco SecureX เพื่อการตอบสนองต่อการภัยคุกคามได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วยิ่งขึ้น ห้วข้อที่สาม เรื่อง เปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐาน สำหรับหัวข้อนี้คงหนีไม่พ้น highlight ในเรื่อง Wi-Fi 6 & 5G ที่จะช่วยเปิดโอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้องค์กรก้าวไปสู่ Digital อย่างรวดเร็ว โดยสนับสนุนกรณีผู้ใช้ที่หลากหลายและสร้างรูปแบบทางธุรกิจใหม่ๆ ระบบเครือข่าย Wi-Fi 6 ไม่เพียงแค่แก้ปัญหาความท้าทายในด้านความคล่องตัวและการเชื่อมต่อเท่านั้น แต่ยังช่วยขับเคลื่อน Solution ใหม่ๆ ด้วย Location Service และ IoT อีกด้วย หัวข้อที่สี่ เรื่อง การทำงานแบบไฮบริดอันทรงพลัง สำหรับ Platform ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง หลังจากการเปิดตัว WebEx version ใหม่อย่างเป็นทางการ ในงาน WebEx ไปแล้ว Cisco ยังเน้นการพัฒนาการใช้งานที่มากกว่าแค่ web conference หรือ

MFEC

MFEC

Tags

MFEC x SUSE Kubernetes E-Book Collaboration 

หนังสือ E-Book ‘SUSE Special Edition Kubernetes Management for dummies’ จะช่วยให้คุณเข้าใจกลยุทธ์ของการใช้ Kubernetes มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้กับผู้นำทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ ผ่าน Case Study และสุดท้าย ช่วยให้คุณเลือก Platform ที่เหมาะสมกับองค์กรของคุณเอง แบบไม่เสียเงิน E-Book เล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เคยได้ยินคำว่า ‘Kubernetes’ และ ‘Containers’ ผ่านมาบ้างแล้ว แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทั้งหมด ตามไปดาวน์โหลดกันได้เลยที่ https://more.suse.com/FY21Q3_PM_APJ-ALL_SR_PTN-CH_CLDNT…. #MFECxSUSE #MFEC #SUSE #Kubernetes #fordummies

MFEC

MFEC

Tags

Webex ฟีเจอร์ใหม่ กับโลโก้ที่มีความหมายยิ่งกว่าเดิม

มาเข้าเรื่องโลโก้ใหม่กันก่อน จริงๆแล้วเส้นม้วนๆนี่หมายความว่าอะไรกันแน่ สื่อถึงฟีเจอร์ใหม่ของ Webex ด้วยหรือเปล่า? Cisco ให้คำอธิบายโลโก้ไว้ว่า    1. Flexibility ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ใช้ที่ไหน เมื่อไร บนอุปกรณ์อะไรก็ได้ แล้วแต่สไตล์การทำงาน    2. Inclusive ทุกคนได้รับประสบการณ์การใช้ที่ดีเหมือนๆกัน ไม่ว่าจะอยู่ประเทศอะไร พูดภาษาไหน หรือใช้เพื่อการสื่อสารแบบใดก็ได้ และสุดท้าย    3. Secure หรือเรื่องของความปลอดภัยที่หลายคนกำลังตื่นตัว ส่วนนี้เขาก็เคลมไว้ว่าจะ รูปลักษณ์ภายนอกปลอดภัย มีความส่วนตัวได้เลยโดยไม่ต้องตั้งค่า รวมถึงป้องกันผู้ใช้จากภัยคุกคามไม่ว่าคุณ      จะอยู่ที่ใดก็ตาม ส่วนตัวฟีเจอร์ที่น่าสนใจที่สุดของเวอร์ชันนี้ก็คือ Webex Assistant for Webex Meetings ซึ่งเป็น Function ใหม่ของ Webex Meeting และ Event สำหรับผู้ใช้ประเภท Paid Plan (เสียเงิน) โดยมีการนำ Artificial Intelligent (AI) มาช่วยให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และได้เพิ่มส่วนของ Closed Caption และ Highlight ที่ใช้ Voice Command ในการสั่งงาน หากต้องการเปิดใช้งานก็แค่กดไอคอน Assistant เท่านั้น โดยเจ้าตัว Closed Caption นี้เป็นการขึ้นตัวหนังสือตามที่มีคนพูดในห้องประชุม คล้าย Subtitle เวลาดูภาพยนตร์ ซึ่งขณะนี้สามารถใช้ได้กับภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ถ้าหากผู้ใช้มีตัวแปลภาษาเชื่อมกับ Webex ไว้อยู่แล้ว ก็สามารถแปล Closed Caption แบบ Real Time (เรียลไทม์) ได้มากกกว่า 100 ภาษาเลยทีเดียว โดยการใช้งานก็ไม่ยาก แค่คลิกไอคอน CC ง่ายๆเพียงครั้งเดียว ไม่จำเป็นต้องให้ Host เป็นคนอนุญาต ด้านของฟังก์ชัน Highlight ผู้ใช้สามารถใช้ Voice Command (ใช้เสียงในการสั่งงาน) เพื่อทำการเน้นข้อความที่คิดว่าเป็นใจความสำคัญของการประชุมได้ในทันที เช่น สั่งว่า “OK Webex, (ข้อความที่ต้องการไฮไลต์) highlight that” เพียงแค่นี้ก็สามารถเน้นประเด็นสำคัญในทุกๆการประชุมได้แล้ว สรุปก็คือ Webex แบบใหม่ทั้งรูปลักษณ์ภายนอกอย่างโลโก้ และฟีเจอร์ต่างๆ สื่อไปถึงความสำคัญที่เป็นจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ อย่าง Flexibility Inclusive และ Secure โดยเน้นให้การใช้งานในยุคที่ถึงแม้ทุกคนอยู่ห่างกัน แต่กลับรู้สึกใกล้กันมากยิ่งขึ้น

MFEC

MFEC

Tags

Virtual Cloud Network – The Future of Network Security in the Cloud.

ทำให้พบอุปสรรคจากการเชื่อมต่อเครือข่ายทำให้ไม่สามารถใช้งานเชื่อมต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ในขณะที่กำลังประชุมออนไลน์ Internet ที่บ้านดันมีการใช้งานหลายคน ทำให้เกิดการติดขัดขึ้นระหว่างการประชุม ดังนั้นสิ่งที่จะมาช่วยให้การเชื่อมต่อสามารถทำงานได้อย่างมีสิทธิภาพ ตอบโจทย์การทำงานให้ง่ายขึ้นคือ SD-WAN  มีรายงานออกมาถึงผลการใช้งาน SD-WAN กล่าวว่า “เมื่อลูกค้านำกล่อง SD-WAN ไปติดตั้งและให้คนอื่นๆ ทดลงใช้ที่บ้านเป็นประมาณ 2 สัปดาห์ ผลปรากฏว่าเทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาช่วยลดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ Network ถึง 90%” ความสามารถของ SD-WAN จะช่วยให้คนที่ใช้ได้สัมผัสกับประสบการณ์เกี่ยวกับ WAN ที่เป็นส่วนตัวในบ้านของตัวเอง ความก้าวหน้าครั้งใหม่ของเทคโนโลยี SASE ที่ VMware นำเสนอนั้นจะช่วยให้เกิดความปลอดภัยในโลกของการทำงานออนไลน์ แต่เดิมนั้น Vmware จะถูกพูดถึงในเรื่องของ security นั้นคือ black boxes, appliances, firewall, web proxies ถูกนำไปใช้งานในรูปแบบของ DMZ จะเกิดอะไรขึ้นถ้า Vmware นิยามสิ่งเหล่านี้แล้วนำมาพัฒนาเป็น software และถ้านำ service เหล่านั้นมาใช้งานผ่านสิ่งที่ Gartner เรียกว่า Secure Access Services Edge หรือ SASE และนี่คือสิ่งที่ VMware กำลังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีนี้อย่างมาก SD-WAN/SASE – Feature สำหรับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงแอปพลิเคชัน  Secure Access Service Edge (SASE) ประกอบด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้  Secure SD-WAN   เป็นฟังก์ชั่นสำหรับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ WAN โดยมาช่วยในการรองรับแอปพลิเคชันที่ต้องการ performance สูงๆ Zero-trust Network Access   การจัดการสิทธิ์การเข้าใช้งาน โดยทำงานร่วมกับ การเพิ่มการตรวจสอบความถูกต้องเพื่อเป็นการรับรองอีกชั้นหนึ่งหรือที่เรียกว่า Multifactor Authentication (MFA)  Firewall-as-a-Service (FWaaS) Fire  Firewall บน cloud ในรูปแบบของ service มีความสามารถด้านความปลอดภัยสามารถทำ filtering URL, การป้องกันการ attack ต่างๆ และยังสามารถทำ policy management ที่เหมือนกันครอบคลุมทั้ง network ในองค์กรได้ Secure web gateways (SWG)  ป้องกันภัยคุกคามต่างๆ จากโลก Cyber และยังป้องกันการเข้าถึงของข้อมูลใน Website ที่ไม่ต้องการ อีกทั้งสามารถป้องกันไม่ให้ User ที่ไม่มีสิทธิ์สามารถใช้งานได้โดยกำหนดตามนโยบายของบริษัท VMware Tanzu Service Mesh  สร้างขึ้นบน VMware NSX เป็นโซลูชั่นเครือข่ายบริการระดับองค์กรของ VMware ที่ให้การควบคุมและความปลอดภัยสำหรับไมโครเซอร์วิสสำหรับผู้ใช้งานและข้อมูลในคลัสเตอร์และคลาวด์ทั้งหมดในระบบมัลติคลัสเตอร์และมัลติคลาวด์ โดย Tanzu service mesh จะช่วยให้ขั้นตอนการปกป้องและตรวจสอบไมโครเซอร์วิสง่ายขึ้นดังนี้ ใช้ Global namespace เพื่อขับเคลื่อนความสามารถในการทำงานข้าม platform และ cloud อื่นๆ ได้ กำหนด policy สำหรับการทำ failover และส่วนที่เหลือนั้นปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ

MFEC

MFEC

Tags

ทำความรู้จัก Zendesk ตัวช่วยบริหารจัดการระบบลูกค้าสัมพันธ์ที่ MFEC แนะนำ

Zendesk คือ Cloud Based Solution ที่ช่วยในการบริหารจัดการระบบลูกค้าสัมพันธ์ (Customer engagement) ที่ใช้ในการบริการลูกค้าในการติดต่อ สอบถาม หรือประสานงานต่างๆ กับองค์กรหรือเจ้าของกิจการ และในอีกแง่มุมหนึ่ง Zendesk ก็ยังสามารถใช้ในการบริหารจัดการติดต่อสื่อสาร สอบถามข้อมูล หรือแจ้งปัญหาของผู้ใช้งานในองค์กรหรือบริษัทได้อีกด้วย Zendesk เปรียบเสมือนระบบ Ticketing System  ที่ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถทราบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้าที่มีการติดต่อประสานกันหรือข้อมูลต่างๆ ในองค์กรในเบื้องต้น ซึ่งจุดเด่นของ Zendesk คือการรวมทุกๆ ช่องทางในการติดต่อสื่อสารไว้ที่หน้าจอเดียว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อผ่าน Social Media จากหลากหลายช่องทาง อาทิ เช่น Line Official, Facebook, Twitter, Youtube, Facebook messenger, Phone, Email ผ่านทางหน้าจอ Zendesk เพียงหน้าเดียวทำ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ผู้ติดต่อและผู้รับเรื่องนั้นมีข้อมูลรายละเอียดของลูกค้า สามารถติดต่อประสานงาน ส่งต่องานหรือการดำเนินการแก้ไขรวมถึงการประสานงานไปยังบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็วและเป็นขั้นตอน ทั้งนี้ยังสามารถชี้วัดการทำงานให้ครอบคลุมตาม SLA ที่องค์กรได้กำหนด เพื่อให้สามารถตอบสนองการทำงานและความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นอกจากนี้ Zendesk ยังมีหน้าจอแสดงถึงภาพรวมในการทำงาน ที่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการทำงานหรือตรวจสอบสถานะงานที่ยังคงค้างอยู่ได้ภายในระยะเวลาอันสั้น และสามารถนำข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบจัดทำออกมาเป็นรายงานได้ตามความต้องการ Zendesk Solution มีหลากหลายความสามารถที่จะช่วยในการบริหารจัดการระบบงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน อาทิ Zendesk Support หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็น Features หลักที่ควรจะต้องมีเป็นพื้นฐานของการทำงานในองค์กรหรือการติดต่อประสานงานจากลูกค้าภายนอก ด้วยระบบ Ticketing System ที่พร้อมใช้งานได้ง่าย อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ทำให้ทราบถึงช่องทางในการติดต่อที่หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์ อีเมล์ หรือช่องทาง Social Media จากทางลูกพร้อมทั้งดำเนินการส่งต่องานไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง Zendesk Guide เปรียบเสมือนคลังความรู้และข้อมูลบริการจากแหล่งต่างๆ ให้มาอยู่ในที่เดียวกัน ที่สามารถช่วยให้องค์กรใช้เป็น (Knowledge base) เพื่ออำนวยความสะดวกและประหยัดเวลาในการค้นหาคำตอบต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่การค้นหาข้อมูลจากลูกค้าผ่านทางหน้าเว็บเองหรือการหาข้อมูลของเจ้าหน้าที่ภายในองค์กรเอง ในรูปแบบ Self service เพื่อลดปริมาณการเปิด ticket หรือการแจ้งปัญหาต่างๆ จากทางลูกค้า  Knowledge based นี้ยังช่วงลดปริมาณงานหรือ ticket ที่จะเกิดขึ้นในระบบอีกด้วย Zendesk Chat เป็นอีก Feature ที่ Zendesk จัดเตรียมไว้เพื่อรองรับการติดต่อสื่อสารทั้งในองค์กรและจากลูกค้าภายนอก ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารได้ทันทีกับเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แทนการโทรศัพท์เพื่อสอบถามหรือแจ้งปัญหาต่างๆ สามารถทำได้โดยการนำไปติดตั้งยังหน้าเว็บต่างๆ ได้ตามความต้องการ ลดความยุ่งยากในการหาข้อมูลหรือสิ่งที่อยากทราบเบื้องต้น ด้วยการพูดคุยในรูปแบบ real time เพื่อเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและพนักงานในองค์ Zendesk Talk เรียกได้ว่าอาจเป็นส่วนหนึ่งของระบบ Call center ซอฟต์แวร์ ที่ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบ Call Center ใดอยู่ก็สามารถเชื่อมต่อระบบโทรศัพท์นั้น เข้ากับระบบ Zendesk Ticketing System ด้วย Zendesk Talk Feature เพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร ทำให้สามารถทราบรายละเอียดเบื้องต้นของผู้ที่ทำการโทรเข้ามา และง่ายต่อการเปิด ticket ในระบบ ด้วยการรับสายและบันทึกข้อมูลของการโทรเข้ามาเพื่อเปิดเคสแบบอัตโนมัติ Zendesk Explore คือระบบที่ช่วยในการจัดทำหน้าจอเพื่อแสดงภาพรวมของระบบที่กำลังใช้งานอยู่ (single dashboard) โดยสามารถปรับแต่งรูปแบบได้ตามความต้องการ ทั้งในรูปแบบกราฟ รูปภาพ หรือข้อความ พร้อมทั้งยังสามารถจัดทำในรูปแบบรายงานที่ได้จากในระบบ

MFEC

MFEC

Tags

Elastic Compute Service (ECS) รุ่นที่ 6 ปรับปรุงใหม่จาก Alibaba Cloud

Alibaba Cloud Elastic Compute Service (ECS) ให้สภาพแวดล้อมในการประมวลผลรูปแบบเสมือนที่มีความสามารถในการประมวลผลอย่างยืดหยุ่นต่อส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ เช่น CPU, หน่วยความจำ, และพื้นที่ในการเก็บข้อมูล ซึ่งแตกต่างจากเซิร์ฟเวอร์ทางกายภาพ ECS ที่มีการใช้งานที่ง่าย, ปรับขนาดได้, และให้การใช้งานได้เร็วขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลงทุนบนฮาร์ดแวร์ใดๆ ล่วงหน้า สำหรับ ECS เราสามารถ แนบ/แยก พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม, การสำรองข้อมูลอิมเมจ และการทำแสนปช็อต ตามความต้องการได้ทุกเมื่อ คุณสมบัติต่างๆ ของ Alibaba Cloud ECS ได้แก่: • การปรับขนาดที่ยืดหยุ่น: สามารถเปิดและจัดหาทรัพยากรและอัพเกรด/ปรับลดแบนด์วิดท์เครือข่ายตามความต้องการการใช้งานทางธุรกิจ • ให้เสถียรภาพในการใช้งานที่สูง: การันตีความพร้อมใช้งานของบริการที่ 99.95% ด้วยคุณสมบัติเช่นการสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูลในระหว่างสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ • ประสิทธิภาพสูง: สนับสนุนดิสก์ในการเก็บข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น คลาวด์ดิสก์ คลาวด์ดิสก์อัลตร้า คลาวด์ดิสก์ SSD และ ESSD นอกจากนี้ยังสนับสนุนการขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของดิสก์ตามความต้องการทางธุรกิจ • ปลอดภัยสูง: Alibaba Cloud ECS สนับสนุนการป้องกัน DDoS และ Network Security Group (NSG) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอินสแตนซ์ในพอร์ตต่าง ๆ ได้ ECS รุ่นล่าสุดนี้ใช้ สถาปัตยกรรม X-Dragon ให้การคาดการณ์และการทำงานที่สอดคล้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลด virtualization overheads นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการจัดเก็บข้อมูล ด้านเครือข่าย และด้านความสามารถในการประมวลผล Alibaba Cloud Elastic Compute Service (ECS) เป็นหนึ่งในบริการที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถสร้างสภาพแวดล้อมคอมพิวเตอร์เสมือน สร้างเซิร์ฟเวอร์คลาวด์เสมือนที่ยืดหยุ่นและปลอดภัย ตอบสนองความต้องการทั้งหมดตั้งแต่ระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับองค์กร เข้าชมบทความที่แสดงให้เห็นถึงภาพรวมของตระกูลอินสแตนซ์ ECS รวมถึงลักษณะเด่นพิเศษของ อินสแตนซ์ Elastic Compute Service (ECS) รุ่นที่หกปรับปรุงใหม่จากอาลีบาบาคลาวด์ และ การเปรียบเทียบ ECS ในตระกูลอินสแตนซ์รุ่นที่หก ได้ที่นี่ https://www.alibabacloud.com/blog/experiencing-the-sixth-generation-enhanced-type-elastic-compute-service-ecs-instances_596714 สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมและโปรโมชันต่าง ๆ พร้อมกรอกข้อมูลเพื่อการติดต่อกลับได้จากลิงค์นี้

MFEC

MFEC

Tags

บริการ Elastic Compute Services ตอบทุกการใช้งานโซลูชันทางธุรกิจจาก Alibaba Cloud

Alibaba Cloud เป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีนและใหญ่เป็นอันดับสามของโลกจากการให้บริการผลิตภัณฑ์บริการและโซลูชันระบบคลาวด์ พวกเขาได้รับการนำเสนอใน Gartner Magic Quadrant สำหรับการมีส่วนร่วมใน Cloud IaaS และเนื่องมาจาก Alibaba Cloud ได้พัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศของตัวเองทำให้ Alibaba Cloud Elastic Compute Service (ECS) ก็ได้กลายเป็นบริการที่สามารถปรับแต่งได้โดยทุกคนทั่วโลก ECS คืออะไร? Elastic Compute Service (ECS) เป็นบริการที่มีประสิทธิภาพสูงเชื่อถือได้และสามารถปรับขนาดได้ตามการใช้งานพัฒนาโดย Alibaba Cloud เพื่อช่วยในการประยุกต์ใช้ธุรกิจ โดยอาศัยระบบปฏิบัติการ Apsara Distributed อาลีบาบาคลาวด์ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อัจฉริยะนี้อย่างเต็มตัว เพื่อให้บรรลุการจัดการที่ไร้ขอบเขตของเซิร์ฟเวอร์นับล้าน ECS ได้รับการพัฒนาเพื่อเอาชนะความท้าทายด้านคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขยายทรัพยากร การทำงานงานในรูปแบบอัตโนมัติ และการบำรุงรักษาลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ (E-commerce, Finance, Education, Scientific Computing และISP) Alibaba Cloud ECS สามารถปรับขนาดตามการใช้งานได้ ให้ความยืดหยุ่นสูง ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจของคุณได้ ตั้งแต่เว็บไซต์โฮสติ้งไปจนถึงคลัสเตอร์การคำนวณขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดาย สามารถให้บริการ vCPUs นับแสนได้ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาทีสำหรับลูกค้ารายเดียวในภูมิภาคเดียว เนื่องจากมีอัลกอริทึมในการจัดวางที่ซับซ้อน การวางแผนในรูปแบบไดนามิก และการเพิ่มประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ เข้าดูเพิ่มเติมเพื่อศึกษา ส่วนประกอบและคุณสมบัติของ ECS ได้ที่นี่  https://www.alibabacloud.com/blog/elastic-compute-service-for-scalable-business-solutions-by-alibaba-cloud_596724   สรุป เพื่อปรับขนาดโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโต Alibaba Cloud Elastic Compute Service เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด พร้อมด้วยโซลูชันอัจฉริยะที่พร้อมให้การยืดหยุ่นและปรับขนาดตามการใช้งานได้ ปลอดภัย เข้าถึงได้ทั่วโลก และเชื่อถือได้ Alibaba Cloud ECS จะช่วยปรับใช้ทรัพยากรได้อย่างทันทีเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในรูปแบบเรียลไทม์และเอื้อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ระบบเครือข่ายประสิทธิภาพสูง ระบบอัตโนมัติ ให้ความเสถียรในระหว่างการใช้งาน พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และอื่นๆอีกมากมาย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมและโปรโมชันต่าง ๆ พร้อมกรอกข้อมูลเพื่อการติดต่อกลับได้จากลิงค์นี้

MFEC

MFEC

Tags

Alibaba ผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก โดย Gartner

Alibaba ผู้ให้บริการ IaaS รายใหญ่อันดับ 3 ของโลก โดย Gartner อาลีบาบาได้รับการขนานนามว่าเป็นผู้ให้บริการ IaaS เป็นรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในเอเชียแปซิฟิกโดย Gartner Alibaba Cloud  เป็นบริษัทผู้นำด้านโครงข่ายข้อมูลอัจฉริยะหลักของ Alibaba Group ซึ่งได้รับการประกาศว่ามีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกในการให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) และในปี 2019 Alibaba Cloud  ยังเป็นผู้ให้บริการในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน กล่าวในรายงานล่าสุดจากผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและที่ปรึกษาระดับโลกของ Gartner ส่วนแบ่งการตลาดของอาลีบาบาในตลาด IaaS ทั่วโลกในปี 2019 ได้ไต่ระดับขึ้นไปที่ 9.1% ขึ้นมา 7.7% เทียบกับปีก่อนหน้า จากรายงานส่วนแบ่งการตลาดบริการด้านไอทีปี 2019 ของ Gartner นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าในส่วนของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ส่วนแบ่งการตลาดของอาลีบาบาเพิ่มขึ้นเป็น 28.2% ในปีที่ผ่านมาจากเดิมที่ 26.1% ใน2018 “เราเชื่อว่าการเติบโตที่แข็งแกร่งและการเป็นผู้นำในตลาดชั้นนำของเราเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นถึงการทำงานอย่างหนักของทีมงาน ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ ลูกค้าและพันธมิตรจำนวนมากของเราทั่วโลกซึ่งเรารู้สึกขอบคุณอย่างแท้จริง” Jeff Zhang ประธาน Alibaba Cloud Intelligence กล่าว “เรามุ่งเน้นที่จะได้ทำงาน ช่วยให้ลูกค้าและพันธมิตรทั่วโลกของเราสามารถปรับกลยุทธ์ให้สามารถเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบดิจิทัลผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถปรับขนาดได้ อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย รวมถึงความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงและยังพร้อมด้วยระบบนิเวศที่พัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง” “รายงานฉบับนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของอาลีบาบาคลาวด์ต่อกลยุทธ์ระดับโลก ที่ตั้งเป้าขยายสถานะไปทั่วโลกด้วยการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายเน็ตเวิร์คระดับโลกของเรา” Zhang กล่าวเพิ่มเติม ปัจจุบัน Alibaba Cloud สามารถให้บริการในพื้นที่ที่ครอบคลุมมากถึง 63 โซน 21ภูมิภาค และมีความพร้อมในการให้บริการลูกค้านับล้านทั่วโลก อีกทั้งยังได้การรับรองเรื่องความปลอดภัยและปฏิบัติตามมาตรฐานสากลมากกว่า 70 แห่งทั่วโลก Alibaba Cloud มุ่งมั่นที่จะนำเสนอบริการบนระบบคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นและดียิ่งขึ้น โดยมีแผนที่จะลงทุนเพิ่มอีก 2แสนล้านหยวน (ประมาณ 28พันล้านเหรียญสหรัฐ) ในระหว่าง 3 ปีข้างหน้า โดยการลงทุนจะเน้นไปที่ โครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์  ทั้งในส่วนเทคโนโลยี ,ระบบปฏิบัติการ, เซิร์ฟเวอร์, หน่วยประมลผล และ เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน Alibaba Cloud เป็นเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มระบบคลาวด์สาธารณะที่ให้การสนับสนุนระบบนิเวศที่หลากหลายตั้งแต่อีคอมเมิร์ซ ระบบการชำระเงินไปจนถึงโซลูชันการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งสามารถรองรับการทำธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงถึง 38.4พันล้านเหรียญสหรัฐ ภายในหนึ่งวันของช่วงเทศกาลช้อปปิ้งระดับโลก อาลีบาบา 11.11 ในปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากรายงานวิจัยของ Gartner ที่กล่าวถึงแล้ว รายงานก่อนหน้านี้จากการวิจัยตลาดและบริษัทที่ปรึกษา International Data Corporation (IDC) แสดงให้เห็นว่า Alibaba Cloud ได้มีการบันทึกถึงการเติบโตของรายได้ตลอดทั้งปีที่เร็วที่สุด เมื่อเทียบกับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ทั่วโลกรายอื่นๆ ในช่วงครึ่งแรกของปีที่ผ่านมา หากต้องการดูรายงาน Gartner โปรดคลิกที่นี่ (เนื้อหาสามารถเข้าถึงได้เฉพาะสมาชิก Gartner เท่านั้น โดยระบุไว้ในรายงานในนามของ Alibaba Group)

MFEC

MFEC