Skip links
View
Drag

COE

Tags

PDPA มีประโยชน์กับใครบ้าง

เหตุผลในการมาของ PDPA เกิดจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่หลากหลายขึ้น นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นี้ขึ้นมาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ขึ้นมา โดยกฎหมายนี้จะส่งผลประโยชน์ให้ตัวบุคคลและภาคส่วนต่างๆ ดังนี้⠀⠀ประชาชนทั่วไป  ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจะถูกจัดเก็บได้อย่างปลอดภัย ลดความเสียหายจากการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการทราบวัตถุประสงค์การจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการอนุญาต หรือไม่อนุญาต และถอนความยินยอมให้จัดเก็บข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการขอให้ลบ หรือระงับการใช้ข้อมูลได้ เจ้าของข้อมูลสามารถร้องเรียน ขอค่าสินไหมทดแทนได้ หากข้อมูลถูกใช้งานผิดจากวัตถุประสงค์ที่แจ้ง⠀⠀ภาคธุรกิจ  ธุรกิจสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในมาตรฐานของการจัดเก็บข้อมูล ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสในการทำธุรกิจที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ธุรกิจสามารถเพิ่มกระบวนการทำงาน กลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรที่เหมาะสม ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรทางด้านธรรมาภิบาล การดำเนินการที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม⠀⠀ภาครัฐ  มีระบบที่มีความทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ในด้านกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีมาตรการกำกับดูแล รวมถึงเครื่องมือกำกับการดำเนินงานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล การดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ สร้างสังคมที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐ และภาคธุรกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้องเหมาะสม ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศในด้านประสิทธิภาพการคุ้มครองข้อมูล⠀⠀จะเห็นได้ว่า PDPA เป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์ของการดูแล และคุ้มครองความปลอดภัยในข้อมูลเป็นอย่างมาก และถึงแม้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้มีการประกาศเลื่อนกำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หรือ PDPA ไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทุกคนในฐานะพลเมืองก็ควรศึกษากฎหมายให้มีความรู้และความเข้าใจ เพื่อผลประโยชน์ และการรักษาสิทธิของตนเองตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น

MFEC

MFEC

Tags

Explainable AI ใครว่า AI อธิบายไม่ได้

เมื่อพูดถึง Artificial Intelligence (AI) หลายคนคงนึกถึงหุ่นยนต์ที่รับคำสั่งจากมนุษย์ เรียนรู้ และพัฒนาได้ด้วยตัวเองผ่านการประมวลผลข้อมูลทุกๆวัน โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องไปสอนทุกขั้นตอนหรือใส่ข้อมูลใหม่ๆตลอดเวลาก็ได้ ยิ่งไปกว่านั้น AI ยังสามารถคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคตหรือให้เหตุผลต่างๆได้ใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ตอนไหนล่ะที่เราสามารถเชื่อใจ AI ได้⠀⠀เพื่อที่จะอธิบายสถานะของ AI ว่ายังสามารถทำงานได้เป็นปรกติหรือไม่ Explainable AI (XAI) จึงถูกพัฒนาขึ้นมาอธิบายการตัดสินใจต่างๆของ AI รวมถึงแสดงหลักฐาน ที่มา ของการตัดสินใจนั้นๆ ส่งผลให้เราสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นก่อนได้ว่าสมควรจะเชื่อการตัดสินใจดังกล่าวหรือไม่⠀⠀และเมื่อไม่นานมานี้นักวิจัยจาก University of Toronto ร่วมมือกับ LG AI Research ได้สร้าง XAI ขึ้นมาเพื่อช่วยหาและแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นบนจอแสดงผล โดยเทคโนโลยีนี้ยังมีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรในวงการ IT เอง หรือแม้กระทั่งผู้ใช้ทั่วๆไป

MFEC

MFEC

Tags

F5 กับการนำ Edge Computing มาใช้งานจริง

ความจริงแล้วการใช้ระบบแบบ Centralized Computing หรือ Centralized Management ทำให้ระบบตอบสนองข้อมูลต้องทำงานหนัก และใช้พละกำลังไปกับการประมวลผลข้อมูลที่ไม่จำเป็น รวมถึงยังทำให้ต้องเสียงบประมาณในการจัดการกับจุดเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบส่วนกลางและระบบ Cloud ที่เกินความเป็นจริงอีกด้วย⠀⠀เพื่อแก้ปัญหานี้ Edge Computing จึงได้ก้าวเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการตอบสนองต่ออุปกรณ์ต่างๆให้ทันท่วงทียิ่งขึ้น⠀⠀โดย Edge Computing คือการวางตัวประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นไว้ใกล้กับจุดของอุปกรณ์มากที่สุด สำหรับจัดการกับข้อมูลก่อนที่จะส่งไปยังส่วนอื่นๆที่จำเป็นโดยไม่ต้องผ่านจุดศูนย์กลางเพื่อลดระยะเวลาการตอบสนองทำให้การประมวลผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างบริษัทที่นำระบบนี้มาใช้ก็คือ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง F5 นั่น

MFEC

MFEC

Tags

PDPA 7 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งใจความสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นไปที่องค์กร หน่วยงาน หรือนิติบุคคลให้มี “มาตรฐาน” ในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและเพียงพอ เมื่อมีความจำเป็นต้องขอใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบไปถึงการรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องสมบูรณ์ (Integrity) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของข้อมูลส่วนบุคคล ที่ก่อให้เกิดแนวโน้มให้เกิดผลกระทบเชิงลบหรือความเสียหายในระดับบุคคลหรือองค์กร⠀⠀บุคคลทั่วไปในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) ควรจะตระหนักและเข้าใจสิทธิของตนเอง โดยสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีด้วยกันทั้งหมด 7 ประการ 1. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)⠀⠀การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งรายละเอียดในการเก็บข้อมูล ตลอดจนการนำไปใช้ หรือเผยแพร่ให้เจ้าของข้อมูลทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูล 2. สิทธิในการขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนเองจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 3. สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)⠀⠀ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลต้องการนำข้อมูลที่เคยให้ไว้กับผู้ควบคุมข้อมูลรายหนึ่ง ไปใช้กับผู้ควบคุมข้อมูลอีกราย เจ้าของข้อมูลสามารถขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดทำข้อมูล ให้ส่งหรือโอนข้อมูลดังกล่าวให้ได้  4. สิทธิคัดค้านการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)⠀⠀เจ้าของข้อมูลสามารถคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อไหร่ก็ได้ รวมถึงสามารถทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ 5. สิทธิขอให้ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุตัวตนได้ (Right to erasure; also known as right to be for-gotten)⠀⠀หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล นำข้อมูลส่วนบุคคลไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ หรือสามารถเข้าถึงได้ง่าย เจ้าของข้อมูลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทำการลบ ทำลายข้อมูล หรือทำให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถระบุตัวตนได้ 6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)⠀⠀เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะในกรณีที่เกิดการเปลี่ยนใจไม่ต้องการให้ข้อมูลแล้ว หรือเปลี่ยนใจระงับการทำลายข้อมูลเมื่อครบกำหนดที่ต้องทำลาย 7. สิทธิการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)⠀⠀เจ้าของข้อมูลมีสิทธิที่จะขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองให้มีความถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้ โดยการแก้ไขนั้นจะต้องเป็นไปด้วยความสุจริต และไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย⠀⠀หมายเหตุ : ทั้งนี้ ควรเก็บบันทึกหลักฐานไว้ หากพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ที่ตกลงกัน ก็สามารถใช้เป็นหลักฐานในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ

MFEC

MFEC

Tags

เทรนด์มาแรง Hybrid Cloud ระบบจะตอบโจทย์ลูกค้าในปี 2021

ทุกวันนี้ Application ของลูกค้ามีแนวโน้มที่จะทำงานอยู่ในทั้ง On Premise และ On Cloud หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Hybrid Cloud ที่จะมาตอบโจทย์การสื่อสารของข้อมูลระหว่างระบบทั้งสองแบบที่ลูกค้าต้องการ⠀⠀⠀เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการเก็บรักษาข้อมูลแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้พื้นที่จริงในการจัดการกับระบบ รวมถึงใช้ทีม IT ภายในของบริษัท กับการใช้ระบบ Cloud ที่โดยปกติผู้ใช้สามารถเลือกได้ระหว่าง Private Cloud และ Public Cloud หลายๆคนคงปฏิเสธไม่ได้ว่า การใช้แบบ Cloud จะมีประสิทธิภาพมากกว่า รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายภายในองค์กรได้มากยิ่งขึ้น⠀⠀⠀แต่หากต้องเลือกระหว่างการใช้ Private Cloud หรือ Public Cloud ผู้ใช้อาจรู้สึกว่าเป็นการเลือกที่ตัดสินใจได้ยาก เพราะหากต้องเลือกเพียงแบบใดแบบหนึ่ง จะทำให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่คาดหวังไว้ ดังนั้นการมี Hybrid Cloud เข้ามาจะทำให้การถ่ายโอนข้อมูลจาก Private และ Public ง่ายมากขึ้น โดยที่ผู้ใช้สามารถจ่ายค่าบริการได้ตามการใช้งานจริง และไม่ต้องเสียพื้นที่ในบริษัทเพื่อจัดเก็บและดูแลรักษาระบบ⠀⠀⠀ดังนั้น วันนี้เราต้องกลับมาคิดกันอีกครั้งว่า เรามี Solution ที่สามารถเรียกได้เต็มปากว่าเป็น Hybrid Cloud แล้วหรือยัง หากยังไม่มี คงต้องรีบคิดกันแล้วว่าจะหา Solution ที่จะมาตอบโจทย์กับคำว่า Hybrid ได้อย่างไรบ้าง

MFEC

MFEC

Tags

Yahoo Japan ควบรวมกิจการกับ Line ยักษ์ใหญ่ด้าน Messenger

เคยสงสัยกันไหมว่าแบรนด์ดังๆ ตอนนี้เขามี Plaforms อะไรกันบ้าง เช่น Google ที่ตอนนี้มีฟังก์ชันที่สามารถครอบคลุมได้ทั้ง Platforms ในหัวข้อ Advertising (Google Ads), E-Commerce (Google Shopping), Payment (G Pay) และ Logistics (Google Express) ซึ่งถือว่าครอบคลุมทุกฟังก์ชันการทำงานของสื่อๆ หนึ่งแล้ว ณ เวลานี้⠀⠀⠀⠀⠀⠀แต่เรื่องที่น่าจับตามองไปยิ่งกว่านั้นก็คือการควบรวมระหว่าง Yahoo Japan และ ยักษ์ใหญ่ของ Messanger อย่าง Line เพื่อที่จะเพิ่มฟังก์ชันการใช้งานให้ครอบคลุมตลาดออนไลน์ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น Search Engine, Finance ซึ่งในขณะนี้ก็เป็น Platform หลักด้านการเงินในประเทศญี่ปุ่น หรือจะเป็น Health Tech (เทคโนโลยีทางการแพทย์) ที่มีศักยภาพที่แข็งแรงพอสมควรในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้⠀⠀⠀⠀⠀⠀โดยการควบรวมครั้งนี้ ทางบริษัทแม่ Z Holdings ได้คาดการไว้ว่ายอดขายของธุรกิจจะเพิ่มขึ้นถึงสองล้านล้านบาทภายในปี 2566

MFEC

MFEC

Tags

NVIDIA แก้ปัญหาให้เกมเมอร์ที่โดนเหมืองขุด Bitcoin ขโมยการ์จอเล่นเกม

เนื่องจากเดือนที่ผ่านมาราคา Bitcoin ได้กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง ทำให้หลายๆ คนกลับมาให้ความสนใจกับ Cyptocerrencies หลังจากเงียบหายไปพักหนึ่ง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือเหล่าเหมืองขุด Bitcoin ทั้งหลายได้กว้านซื้อการ์ดจอเล่นเกมไปหมด จนทำให้เกมเมอร์ออกมาโวยวายเพราะไม่สามารถเล่นเกมได้⠀⠀⠀⠀⠀⠀NVIDIA ที่เห็นวิกฤตนี้จึงผุดไอเดีย เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยออกชิปมาเพื่อการขุดเหรียญโดยเฉพาะ แต่มีการคาดการณ์ไว้ว่าชิปตัวนี้อาจจะแพงมาก พอๆ กับชิประดับองค์กรกันเลยทีเดียว ถือว่า NVIDIA ยิงปืนครั้งเดียวได้นกถึงสองตัว ทั้งสร้างยอดขายผลิตภัณฑ์ใหม่ และยังป้องกันการกว้านซื้อการ์ดจอเล่นเกมมาใช้ขุดเหรียญจนทำให้ราคาการ์ดจอตกอีกด้วย ⠀⠀⠀⠀⠀⠀อีกบริการหนึ่งก็คือ My Content ซึ่งเป็นการนำเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ เข้ามาประกอบกับตัวคอนเทนต์ของเราเอง รวมถึงใส่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของเนื้อหาให้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้นหมายความว่าบริการตัวนี้จะช่วยในเรื่อง Seach Engine Optimization (SEO) และ Data Method อย่าง H1 และ H2 รวมถึง Title ซึ่งจะทำให้คอนเทนต์ของเราติดตลาดและปรากฏบนหน้า Google มากขึ้น

MFEC

MFEC

Tags

Al for Content Creation Frase และ My Content

Artificial Intelligent (AI) อย่างที่ทุกคนคงจะทราบกันว่า ปัจจุบันมีการนำ Artificial Intelligent (AI) มาช่วยในการทำการตลาดอย่างกว้างขวาง ครั้งนี้ AI ก็ยังได้เข้ามาช่วยในการทำคอนเทนต์ซึ่งหลายคนก็อดสงสัยกันไม่ได้ว่าเจ้า AI จะมาช่วยสร้างคอนเท้นต์แบบที่คนทำได้อย่างไร⠀⠀⠀⠀⠀⠀หนึ่งบริการที่จะนำมาใช้ในครั้งนี้มีชื่อว่า Frase ซึ่งมีฟังก์ชันที่จะเข้ามาช่วยทำ Content Brief หรือก็คือเอกสารที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ สำหรับการทำคอนเทนต์ ต่างกับแต่ก่อนที่ปกติจะใช้บทสรุปจาก Creative/Copy Writer หรือ Content Writer โดยบริการตัวนี้จะสามารถให้คำแนะนำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรคน รวมถึงสร้างคอนเทนต์เพื่อตอบสนองความต้องการที่มากขึ้นของผู้บริโภค⠀⠀⠀⠀⠀⠀อีกบริการหนึ่งก็คือ My Content ซึ่งเป็นการนำเนื้อหาจากแหล่งต่างๆ เข้ามาประกอบกับตัวคอนเทนต์ของเราเอง รวมถึงใส่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของเนื้อหาให้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้นหมายความว่าบริการตัวนี้จะช่วยในเรื่อง Seach Engine Optimization (SEO) และ Data Method อย่าง H1 และ H2 รวมถึง Title ซึ่งจะทำให้คอนเทนต์ของเราติดตลาดและปรากฏบนหน้า Google มากขึ้น

MFEC

MFEC

Tags

SpaceX เตรียมส่งดาวแบบ Rideshare รวดเดียว 143 ดวง

SpaceX เตรียมยิงจรวด Falcon 9 ตามภารกิจ Transporter-1 นำส่งดาวเทียมจำนวน 143 ดวงตามโครงการ Rideshare ที่เปิดให้จองเที่ยวบินไปเมื่อต้นปี 2020 นับเป็นการส่งดาวเทียมจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา⠀⠀⠀⠀⠀⠀ราคาตามหน้าเว็บโครงการ Rideshare ของ SpaceX คิดค่านำส่งดาวเทียมกิโลกรัมละ 5,000 ดอลลาร์ ขั้นต่ำ 200 กิโลกรัม ลูกค้าที่เปิดเผยตอนนี้มีบริษัท Planet ที่ซื้อสล็อตนำส่งดาวเทียม SuperDove รวดเดียว 48 ดวง ส่วน SpaceX เองก็นำส่งดาวเทียม Starlink ขึ้นไปด้วย 10 ดวง⠀⠀⠀⠀⠀⠀ธุรกิจนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กเป็นธุรกิจที่หลายบริษัทพยายามเจาะตลาด เช่นบริษัท Rocket Lab ที่มีจรวด Electron ระวางบรรทุก 300 กิโลกรัม สำหรับการส่งดาวเทียมขึ้นวงโคจร LEO เดิมทีจุดขายของจรวดขนาดเล็กเช่นนี้คือการกำหนดช่วงเวลาภารกิจได้เอง โดยไม่ต้องรอดาวเทียมหลักที่อาจจะล่าช้า แต่โครงการ Rideshare ของ SpaceX ทำให้องค์กรที่ต้องการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กสามารถกำหนดตารางภารกิจได้ง่ายขึ้นเพราะมีรอบการนำส่งแน่นอน แถม SpaceX ยังเคยบอกว่าหากดาวเทียมล่าช้าก็สามารถขอเลื่อนภารกิจได้ แม้จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมก็ตาม

MFEC

MFEC

Tags

TDRI EIS Live On-Line Briefing

แม้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้มีการประกาศเลื่อนกำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หรือ PDPA ออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 แต่ทุกภาคส่วนก็ยังต้องเตรียมความพร้อมรับมือต่อกฎหมาย ตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงภาคธุรกิจขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อนำมาปรับใช้และปรับตัวให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ⠀⠀ วันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร (CEO, MFEC) ได้รับเกียรติจาก TDRI-EIS เข้าร่วม TDRI EIS Live On-Line Briefing พูดคุยในหัวข้อ ” Preparing for PDPA Implementation: Myths and Realities” ร่วมกับ ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ (TDRI) ดร. กิริดา ภาพิชิต (TDRI) ดร. สุนทรี ส่งเสริม (DES) คุณอนุสรา โชควณิชพงศ์ (Lotus’s) และคุณอาภาธร ราชชุมพล (SCB) เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้งาน PDPA⠀⠀ การพูดคุยในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม PDPA พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาของบริษัทต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการเตรียมความพร้อม และการสร้างความเข้าใจให้กับพนักงานในแต่ละองค์กร โดยกฎหมาย PDPA อาจส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหาให้กับธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่ยังไม่ได้ดำเนินการอยู่บนดิจิทัล จึงควรเกิดการ Transformation องค์กรก่อนที่จะกฎหมายนี้จะมีผลบังคับใช้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการดำเนินธุรกิจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หรือ PDPA ยังมีกฎหมายย่อยอีกหลายๆ ส่วนที่รอการสรุปที่ชัดเจน ดังนั้นผู้ดำเนินธุรกิจจึงต้องคอยติดตามและศึกษาข้อมูลกฎหมายอย่างละเอียด ผลของกฎหมาย PDPA ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการคุ้มครองความปลอดภัยข้อมูลมากยิ่งขึ้น ต้องมีการตรวจสอบความปลอดภัยเพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดความเสี่ยงที่บานปลายขึ้นได้

MFEC

MFEC