Skip links
View
Drag

Life at MFEC

Tags

MFEC accomplished Google Cloud Specialization Partner in Application Development

MFEC was certified by Google Cloud Partner Advantage program as Specialization Partner in Application Development which is the highest level of technical designation given to Google Cloud Partner. This success highlights MFEC’s expertise in Google Cloud solutions which boosts the capability of uplifting digital life and delivering high quality services to customers. Application Development Specialization reflects MFEC’s ability as a partner with high proficiency in implementation and services of Google Cloud’s cloud-native business applications, especially Apigee API management and Anthos Cluster Management. To be certified for Specialization, MFEC had proven its strong technical skills in Google Cloud application development through several accomplishments contributed by multiple staff with specialization and high experience in Google Cloud application development. The accomplishments include at least 3 customer success stories from the customers who have been implemented and delivered by services from Google cloud and professional services from MFEC and professional-level certificates, including Professional Cloud

MFEC

MFEC

Giving is receiving ยิ่งให้ยิ่งได้

เมื่อโลกใบนี้เต็มไปด้วยการแข่งขัน ผู้คนมากมายต่างตั้งใจทำงานของตนเองจนเกือบลืมสิ่งที่เรียกว่า “การแบ่งปัน” ทั้งที่จริงแล้วสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริงดั่งประโยคที่ว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้” ที่คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ ซี อี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC เคยได้กล่าวไว้ คุณเล้งกล่าวว่า “มนุษย์นั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คนกลุ่มแรกคือ Giver ผู้ที่มีความใจกว้าง และพร้อมมอบสิ่งที่ดีให้กับผู้อื่นเสมอ กลุ่มที่สองคือ Matcher เป็นกลุ่มคนที่จะทำเท่ากับสิ่งที่ได้รับตอบแทนมา และกลุ่มสุดท้ายคือ Taker เป็นกลุ่มที่ต้องการได้รับแต่ผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น” ถึงแม้มนุษย์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม แต่กลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ “Giver” เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่จะทำให้เกิดการแบ่งปัน และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้สังคมหรือองค์กรที่มีคนกลุ่มนี้เติบโตอยู่เสมอ ซึ่งแตกต่างจากองค์กรที่มีแต่ Taker ซึ่งมีแต่คนใจแคบ และเห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก สุดท้ายองค์กรที่มีแต่คนประเภทนี้ก็ไม่สามารถไปต่อได้ เพราะขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีแต่ Giver จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกเหนือจากนี้ คุณเล้งยังกล่าวว่า “80% ของปัญหาองค์กรขนาดใหญ่เกิดจากผู้นำที่ใจแคบ” คุณเล้งได้ทำการศึกษามาว่าพนักงานหนึ่งคนส่วนใหญ่ใช้ความสามารถที่มีให้บริษัท 60% อย่างไรก็ตาม หัวหน้าที่ดี และใจกว้างสามารถทำให้พนักงานทำงานได้ถึง 80% และ 20% ที่เหลือนั้นคือกำไรของบริษัท เพื่อให้เห็นภาพ ถ้าบริษัทมีหัวหน้าที่ใจแคบ ไม่มีความเข้าอกเข้าใจลูกน้อง คนที่ทำงานด้วยก็อยากแค่ทำงานให้เสร็จไป หรือทำงานให้คาบเส้น แต่ถ้าบริษัทมีหัวหน้าใจกว้าง พร้อมสนับสนุนให้ลูกน้องได้เติบโต ลูกน้องที่ทำงานด้วยก็จะรักผู้นำ และพร้อมที่จะเต็มที่กับการทำงานให้ผู้นำได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในการบริหารองค์กรให้คนในองค์กรรู้จัก “การให้” และสร้างสังคมแบบ “Giver” จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสิ่งที่ได้รับกลับมานั้นมากมายมหาศาล คนในองค์กรจะไม่ได้ทำงานเพียงเพราะต้องการผลประโยชน์ส่วนตนอย่างเดียว แต่พวกเขายังรู้สึกได้ถึงความผูกพันธ์ และความสัมพันธ์อันดีงามอันเนื่องมาจากการให้อย่างไม่มีสิ้นสุด ส่งผลให้บริษัทนั้นเติบโต และสร้างแต่ชื่อเสียงที่ดี ดั่งคำที่กล่าวว่า “ยิ่งให้ ยิ่งได้”

MFEC

MFEC

ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากเกียรตินิยม

ทุกคนบนโลกนี้ล้วนอยากประสบความสำเร็จ แต่กลับไม่รู้เลยว่าอะไรคือปัจจัยที่จะนำพา “ความสำเร็จ” ไปสู่พวกเขาได้ อย่างไรก็ตาม คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ ซี อี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ได้ค้นพบกุญแจสำคัญที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จจากการศึกษาเบื้องหลังของเหล่าคนที่ประสบความสำเร็จ “คนที่เก่ง กับ คนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละรุ่น ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกันคนที่เรียนสูงที่สุด กับ คนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละรุ่น ก็ไม่ใช่คนกลุ่มเดียวกันคนที่มาจากครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุด กับ คนที่ประสบความสำเร็จที่สุด ก็คนละกลุ่มกันความสำเร็จจึงไม่ได้อยู่ที่การศึกษา หรือ Background” คุณเล้งอธิบายว่าความสำเร็จ 30% เกิดจากตัวเรา 70% เกิดจากสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะคนเก่ง คนร่ำรวย หรือคนที่เรียนสูง หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จได้ เพื่อให้เห็นภาพก็เหมือนทุเรียนชั้นดีที่ถูกปลูกในกระถาง ปลูกยังไงก็ไม่มีวันได้ผลออกมา คนก็เช่นกัน ถึงจะมีพื้นฐานที่ดียังไง หากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมให้ไปได้ไกลได้ ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ดังนั้น “สิ่งแวดล้อมจึงสำคัญ และมีผลกระทบต่อความสำเร็จเป็นอย่างมาก” ด้วยเหตุผลนี้พี่เล้งจึงนำหลักการนี้มาปรับใช้กับภายในองค์กร ส่งเสริมให้บุคลากรในองค์กรประสบความสำเร็จร่วมไปกับองค์กร โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และเปิดโอกาสให้พนักงานได้แสดงความคิดเห็นและเติบโตในเส้นทางของตัวเอง เพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถที่จะ “ประสบความสำเร็จ” โดยมีสิ่งแวดล้อมขององค์กรเป็นแรงผลักดัน และเกื้อกูลให้พนักงานทุกคนสามารถใช้ศักยภาพของตนเองพัฒนาตนเองและบริษัทได้อย่างสูงสุด นอกเหนือจากนี้ คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่นั้น มักจะเคยผ่านช่วงเวลาที่เคยยากลำบากมาก่อน เนื่องมาจากคนที่เคยลำบากมาก่อนนั้นจะสามารถเชื่อมต่อกับแรงผลักดันของตัวเองได้ง่าย และมีความพยายามเหนือกว่าคนอื่น ๆ พวกเขาจะมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น และใช้จุดนี้ในการเติบโตไปในทิศทางที่ดี ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงต้องได้รับมอบหมายงานที่หลากหลายทั้งยากและง่าย รวมไปถึงการเข้าไปร่วมทำงานกับทีมอื่น ๆ เพื่อให้เป็นการสร้างความท้าทายให้กับตนเอง เข้าใจการทำงานของทีมอื่น ๆ ในองค์กร และเป็นแรงผลักดันให้พนักงานพัฒนาศักยภาพของตนเองให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น คุณเล้งจึงได้กล่าวว่า “ความสำเร็จนั้น ไม่ได้เกิดจากเกียรตินิยมแต่อย่างใด แต่เกิดจากการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และแรงผลักดันจากความลำบากของตน” การที่จะบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น เราจะต้องผลักดันให้คนในองค์กรประสบความสำเร็จร่วมไปกับบริษัทด้วย เพราะความสำเร็จของคนในองค์กรก็เหมือนความสำเร็จของบริษัท หลักการนี้จึงเป็นหลักการที่สำคัญจะช่วยผลักดันให้บริษัทประสบความสำเร็จได้

MFEC

MFEC

MFEC ดันศักยภาพบุคลากรเสริมทัพความแข็งแกร่งอย่างไร้ขีดจำกัด

สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เมล็ดพันธุ์ชั้นดีสามารถเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC จึงต้องการที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์แบบสำหรับเมล็ดพันธุ์แต่ละประเภท โดยคุณเล้งอธิบายว่าความสำเร็จ 30% เกิดจากตัวเรา และอีก 70% เกิดจากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กรที่ดีจะทำให้พนักงานสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัฒนธรรมของ MFEC เป็นผลลัพธ์ของค่านิยม 4 อย่าง คือ Passion Professional Teamwork และ Giver โดยค่านิยมเหล่านี้จะหล่อหลอมให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและสร้างความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเองให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการทำงานที่นอกจากจะทำให้ตนเองมีความสุขแล้วยังสร้าง Impact ให้กับสังคมได้อีกด้วย การเรียนรู้เป็นขั้นตอนสำคัญของการพัฒนาตนเอง สำหรับแนวทางในการเสริมสร้างการเรียนรู้ภายในองค์กร คุณเล้งไม่เห็นด้วยกับรูปแบบการเพิ่มพูนทักษะดั้งเดิมที่เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น อบรมที่จัดขึ้นโดยบริษัทในเนื้อหาที่ไม่ใช่ความสนใจของพนักงานอย่างแท้จริง คุณเล้งต้องการที่จะลดการเรียนรู้รูปแบบนี้ให้น้อยลง โดยมองว่า ในปัจจุบัน ความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การอบรมเท่านั้น อินเทอร์เน็ตเป็นคลังความรู้มหาศาลที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกเรื่องที่ใฝ่รู้ อย่างไรก็ตาม หากพนักงานมีความสนใจที่จะเพิ่มพูนทักษะบางอย่าง ทางองค์กรก็พร้อมที่จะสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยสามารถรวมกลุ่มคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันมาทำเรื่องขอให้จัดอบรมในเรื่องนั้น ๆ ได้ นอกเหนือจากการเรียนรู้จากการค้นคว้าหรือการอบรม การเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ก็เป็นแนวทางที่คุณเล้งสนับสนุน MFEC เป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีในหลายแง่มุมซึ่งแต่ละคนก็มีความรู้ที่สั่งสมจากประสบการณ์และการค้นคว้าอยู่มาก การแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันจึงเป็นแนวทางที่จะเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานให้มากยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยเหตุนี้ทางองค์กรจึงจัดกิจกรรมให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันของพนักงานในองค์กรอยู่เสมอ เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้ดังกล่าว “เราจะเป็นบริษัทไอทีที่คนอยากทำงานด้วยมากที่สุด ผ่านการผลักดันศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน” เป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ทุกคนยึดมั่นดำเนินตาม เพื่อที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนในการทำให้ชีวิตดิจิทัลของคุณดีขึ้น

MFEC

MFEC

เคล็ดลับการบริหารธุรกิจ “คน” คือหัวใจสำคัญ

เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ย่อมเติบโตเป็นต้นไม้ที่สวยงาม บุคลากรก็เช่นกัน คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC ใช้แนวคิดดังกล่าวในการคัดเลือกบุคลากร ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ MFEC เติบโตเป็นบริษัทไอทีที่มีโครงสร้างแข็งแรงได้ในปัจจุบัน “เราควรจะหาเมล็ดพันธุ์ที่มีลักษณะดีของมัน เพราะฉะนั้นการคัดเลือกคนที่ถูกต้องเข้ามาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” แต่จะเลือกคนที่ถูกต้องได้อย่างไรนั้น คุณเล้งอธิบายว่า หัวใจสำคัญของการเลือกคน คือ ‘การดูคนให้เป็น’ โดยมีหลักการที่น่าสนใจ ได้แก่ การไม่ถาม และคุณสมบัติถ่ายทอด จะเฟ้นหาคนที่ใช่ อย่าถาม ให้เชื่อในวิจารณญาณของเราในการดู อย่าเชื่อในสิ่งที่เขาบอก มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อน สิ่งที่พูดมักจะไม่ตรงกับสิ่งที่คิด ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม นอกจากนั้น บางคำถามก็ไม่มีประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น คำถามที่มีคำตอบอยู่แล้วในบริบทนั้น ๆ เช่น ถ้าหัวหน้าถามลูกน้องว่า รักองค์กรไหม ลูกน้องก็ต้องตอบว่า รัก อยู่แล้ว นอกจากนี้ การไม่ถามจะบังคับให้เราต้องใช้การสังเกต ซึ่งเป็นวิธีที่แม้จะใช้พลังงานเยอะกว่าแต่ก็มีความแม่นยำมากกว่าเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ การไม่ถามจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุด เมื่อรู้ถึงเทคนิคที่ใช้ในการดูแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การรู้ว่าจะดูอะไร การดูคนควรเริ่มจากการกำหนดคุณสมบัติหลักที่ต้องการจะดู โดยอาจเลือกระหว่างคุณสมบัติที่ต้องการหรือคุณสมบัติที่ไม่ต้องการ และคุณสมบัตินั้นจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนโดยรวมได้ โดย คุณเล้งได้แนวคิดนี้จากคุณสมบัติการถ่ายทอดซึ่งเป็นคุณสมบัติทางคณิตศาสตร์ที่ ถ้า A = B และ B = C จะสรุปได้ว่า A มีค่าเท่ากับ C หากลองสังเกตคนรอบตัวก็จะเห็นได้ว่า คนที่มีความกตัญญู มักจะเป็นคนที่ใจกว้าง เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติบางอย่างสามารถเชื่อมโยงไปยังคุณสมบัติอื่นได้ โครงสร้างที่แข็งแรงของ MFEC จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากบุคลากรที่มีคุณภาพ ดังนั้น คุณเล้งจึงหมั่นฝึกฝนทักษะ และหากลยุทธ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อที่จะดูคนให้เป็น และให้ความสำคัญกับการคัดเลือกบุคลากร เพื่อเฟ้นหาเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสม เป็นเมล็ดพันธุ์ที่พร้อมเติบโตเป็นต้นไม้ที่สมบูรณ์ด้วยการดูแลของ MFEC ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของพนักงานทุกคนให้เกิดผลลัพธ์ที่ Always Exceed Expectations

MFEC

MFEC

MFEC เดินหน้าสร้าง Impact ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ

Impact เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่จะพาองค์กรสู่ความสำเร็จ ในยุคโลกาภิวัตน์ที่กระแสเทคโนโลยีเปลี่ยนไปตลอดเวลา การทำงานรูปแบบดั้งเดิมหรือการทำทุกงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จสมบูรณ์ อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดอีกต่อไป เมื่อความสำคัญของงานแปรเปลี่ยนไปตามเวลา การเลือกทำเฉพาะงานที่สร้าง Impact คืออีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่จะทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ในปัจจุบัน MFEC เดินหน้าด้วยแนวคิดการทำงานเพื่อสร้าง More Impact ทำให้องค์กรมีการเติบโตอย่างมั่นคงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตาม MFEC ไม่หยุดที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC เผยว่า ความท้าทายล่าสุดของ MFEC คือการผลักดันให้บุคลากรภายในองค์กรได้แสดงศักยภาพที่แท้จริงออกมา ตลอดระยะเวลาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัทขึ้นมา MFEC ได้สั่งสมประสบการณ์และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปัจจุบัน บริษัทมีโครงสร้างที่แข็งแรง ประกอบไปด้วยความน่าเชื่อถือจากผลงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความมั่นคงทางการเงิน และบุคลากรที่มีคุณภาพ แต่ถึงอย่างนั้น คุณเล้งกลับรู้สึกว่าจุดแข็งเหล่านี้ยังไม่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยเหตุนี้ คุณเล้งจึงมี Passion ที่จะทำให้ศักยภาพของ MFEC เป็นที่ประจักษ์ในวงกว้าง MFEC จะต้องเป็นบริษัทที่สามารถใช้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็น ความแข็งแรงในเชิงองค์กร ประสบการณ์ การรู้ความต้องการของลูกค้า และความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยี ในการสร้าง More Impact ต่อสังคม โดยมุ่งที่จะผลักดันศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของพนักงาน เพื่อสร้างสรรค์เทคโนโลยี และยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคน

MFEC

MFEC

More Impact กุญแจสำคัญในการรับมือความเปลี่ยนแปลงสู่โลกอนาคต

เวลาที่ไม่หยุดเดินกับสังคมที่เกิดการ Disruption ตลอดเวลานำมาซึ่งการตั้งคำถามว่า MFEC ในฐานะบริษัทไอทีที่ดำเนินกิจการมายาวนานถึง 25 ปีจะมีแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้อย่างไร ในโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจคือการผลักดันองค์กรให้มุ่งสู่ More Impact ‘คุณเล้ง ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร’ ซีอีโอของบริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC เปิดเผยถึงกลยุทธ์ที่จะทำให้ MFEC เติบโตอย่างยั่งยืน More Impact จะทำให้เกิดการทำงานเพื่อ ‘ความสำเร็จ’ ไม่ใช่ทำงานแค่ให้ ‘เสร็จ’ เพราะความสำคัญของงานนั้นไม่ยั่งยืน การทำงานโดยยึดหลัก More Impact จึงเป็นสิ่งสำคัญ การตั้งคำถามถึงความสำคัญของงานว่า งานที่ทำอยู่ในปัจจุบันมี impact ไหม สามารถสร้างประโยชน์ได้หรือไม่ เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจสามารถปรับตัวตามกระแสโลกปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การทำงานโดยมุ่งไปที่การสร้าง Impact จะทำให้เกิดการทำงานที่สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพและผลิตภาพ การทำงานเพื่อให้เกิดความสำเร็จจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยการพิจารณาถึง Impact ของงานเป็นปัจจัยสำคัญในการวัดผลเพื่อทำให้เกิดการต่อยอดหรือปรับปรุงธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น ก่อนจะก้าวไปข้างหน้า ต้องรู้จักจุดที่ยืนอยู่ การจะสร้างธุรกิจที่สร้าง Impact ได้ต้องเริ่มจากการเข้าใจธุรกิจ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ และเข้าใจว่าเทรนด์ธุรกิจจะไปในทิศทางไหน หากมีความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ก็จะสามารถระบุถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อลูกค้าได้และนำข้อมูลมาใช้ในการปรับธุรกิจให้ส่งเสริมธุรกิจของลูกค้า แทนที่จะสร้างภาระในต้นทุนที่สูง ด้วยเหตุนี้ บุคลากรที่จะสามารถพาองค์กรไปสู่ More Impact ได้จะต้องเป็นคนที่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาและเข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำงาน คุณสมบัติดังกล่าวจะทำให้สามารถตามทันความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและเข้าใจธุรกิจของลูกค้ามากขึ้น ทำให้สามารถระบุปัญหาของลูกค้า เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถหา S-curve ใหม่ได้ การเติบโตของ MFEC ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นหนึ่งในตัวอย่างของการปรับตัวตามกระแสธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยองค์กรมีการปรับตัวอย่างรวดเร็วและรุนแรงเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ทั้งองค์กรและธุรกิจของลูกค้าเติบโตได้ ก้าวต่อไปของ MFEC เพื่อมุ่งสู่ More Impact “ถ้าพรุ่งนี้บริษัท MFEC ปิดไป มันควรจะมีความสะเทือนต่อลูกค้า ต่อโครงสร้างไอทีของประเทศนี้” นี่คือเป้าหมายสูงสุดที่คุณเล้งตั้งไว้สำหรับอนาคตของ MFEC เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ บุคลากรในองค์กรจำเป็นจะต้องเค้นเอาความสามารถทางการแข่งขันของตนเองออกมา ความสามารถในการแข่งขันในที่นี้ หมายถึง การรวมประสานระหว่าง การรู้ความต้องการของลูกค้า การรู้ปัญหาของลูกค้า การรู้เทคโนโลยี และการมีประสบการณ์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่สร้าง Impact ต่อลูกค้า สามารถเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจของลูกค้าได้สูงสุดซึ่งตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน ที่ต้องการของที่ราคาถูกลงและสามารถส่งเสริมสภาพการแข่งขันเชิงธุรกิจมากขึ้น

MFEC

MFEC

MFEC จะทำให้เราได้เจอตัวเองในเวอร์ชันที่ดีขึ้นตลอดเวลา

“ขอเมาท์ว่ามันเป็นช่วงสงครามในชีวิตละกัน คือช่วงนั้นไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเองชอบอะไรกันแน่ พอเข้าไปเรียนรัฐศาสตร์จริง ๆ แล้วเราไม่ได้ชอบขนาดนั้น จนถึงจุดที่มันจบแล้วอะ เคว้งมากๆ ตอนนั้นว่างอยู่ประมาณปีหนึ่งได้มั้ง” คุณยิ้ม (พรหมวดี อยู่ในธรรม) Associate Communication จากทีม Corporate Communication and Branding เล่าเรื่องราวก่อนมาอยู่ที่ MFEC “เราเลยเริ่มลองหาว่าเพื่อน ๆ เป็นอะไรกันบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น HR กัน ก็เลยไปไล่สัมภาษณ์ตามที่ต่าง ๆ เพราะว่าตอนนั้นเอาแค่แบบ ฉันมีงานทำ แล้วฉันมีเงิน แล้วสิ่งที่ทำให้ตัดสินใจมาสมัคร MFEC ก็คือ เว็บไซต์ ฮ่าๆๆ คือแค่รู้สึกว่าเขามีเว็บไซต์ก็น่าเชื่อถือและ แล้วก็เดินทางสะดวก สุดท้ายก็เข้ามาเป็น Receptionist แบบงง ๆ” หลังจากนั้นคุณยิ้มก็ได้ปรับมาเป็น HR Admin (Human Resources Administrator) และเริ่มเข้ามาดูแลเรื่องกิจกรรมภายในมากขึ้น “ทีนี้ก็ได้เริ่มช่วยเขาคิดแคมเปญ เพราะว่า PE (People Excellence ทีม HR ของ MFEC) ต้องจัดกิจกรรมทุก ๆ เทศกาล พี่ก็จะเริ่มเข้าไปช่วยเขาไม่ว่าจะเป็นสงกรานต์ วันนู้นวันนี่เต็มไปหมด ตอนนั้นก็คือเรา Enjoy แล้วก็รู้สึกว่าทำได้นี่นา คือก็เคยคิดว่าตัวเองทำไม่ได้เหมือนกัน” จนไปถึงจุดหนึ่งที่องค์กรมีการ Transform การสื่อสารก็ถูกนำมาพูดถึงมากยิ่งขึ้น และปรับเปลี่ยนมาเรื่อย ๆ จนมีทีมแยกออกมาจาก PE และเปลี่ยนชื่อเป็น Corporate Communication and Branding “โชคดีมากที่มีคนเห็นศักยภาพในตัวเราอะ คือพี่อาร์ม (อาร์ม ศิวะดิตถ์ Chief Transformation Officer) เขาเก่งในการมองคน ช่วงที่พี่เขาให้ทำ Effective Meeting ตอนนั้นยังงงอยู่เลยว่าจะทำอะไรได้ พี่อาร์มเขาบอกเนี่ยเราทำ Creative ได้เว้ย จากคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำอะไรได้ ก็เริ่มเห็นพัฒนาการของตัวเอง พูดรู้เรื่องมากขึ้นเพราะได้รับบทเป็นพิธีกร” แล้วในมุมการสื่อสารองค์กร เกิดอะไรขึ้นบ้าง “เทียบกับเมื่อก่อนที่ต่างคนต่างอยู่ ตอนนี้ทั้งหัวหน้าทั้ง CEO เองก็ประชุมกันบ่อย อยากสื่อสารกับพนักงานให้มากขึ้น แล้วที่สำคัญคือตอนนี้การสื่อสารมันดีขึ้น บรรยากาศในองค์กรก็คือดีขึ้นมาก อยากทำให้มันสตรองมากขึ้นไปกว่านี้อีก” ผ่านมา 5 ปีกับการพัฒนาตัวเองไปพร้อมกับพัฒนา MFEC อะไรที่ทำให้คุณยิ้มอยู่ที่นี่ได้นานขนาดนี้ “พี่มีอีกจุดหนึ่งที่ชอบทำก็คือการแสดง ร้องเพลงอะไรแบบนี้คือความพี่มาก ๆ แล้วทุกคนในทีมซัพพอร์ตในความฝันของเรา ไม่ว่าจะไปแคสงาน แสดงละครเวที ต้องบอกว่าหน้าที่ที่เราทำคือก็ทำเต็มที่ เพราะงั้นทุกคนเลยเชื่อใจเราว่าเราสามารถทำได้ทั้งสองอย่าง” “สำหรับคนที่อยากมา บอกเลยว่าได้ใช้ความสามารถของตัวเองอย่างเต็มที่แน่นอน เพราะ MFEC จะทำให้เราได้เจอตัวเองในเวอร์ชันที่ดีขึ้นตลอดเวลา หลังจากที่ได้โอกาสจากที่นี่ก็คิดเลยว่าการให้โอกาสคือสิ่งที่ดีอะ และอยากให้โอกาสคนอื่นต่อไปด้วย เพราะงั้นอย่าลังเลที่จะมาค่ะ มา MFEC เท่านั้น! ฮ่าๆๆๆ”

MFEC

MFEC

มาอยู่ทีมนี้ที่ MFEC มันเหมือนเราอยู่ชมรมอะไรสักชมรมหนึ่งในมหาลัย

“มาอยู่ทีมนี้ที่ MFEC มันเหมือนเราอยู่ชมรมอะไรสักชมรมหนึ่งในมหาลัย ที่แบบว่าสนใจอะไรเหมือน ๆ กันเวลาไม่เข้าใจอะไรก็ ‘เฮ้ยพี่ ทำยังไงดีอะอันนี้ผมไปดูมาแล้วผมทำไม่ได้’ แบบนี้เลย” คุณนนท์ (พงศธร ทังสฤดี) Network Engineer ประจำทีม Networking and Cisco Customer Experience เล่าให้เราฟัง “ตอนแรกได้ฝึกงานที่นี่ก่อน ถ้าเป็นมหาลัยผมเขาจะเรียกว่าสหกิจ ก็จะอยู่ 4 เดือน 1 เทอมพอดี ตอนฝึกงานที่นี่ก็รู้สึกว่า เออ มันสนุกดี รู้สึกว่าเราได้ลองเล่นของจริง เราได้ไปหาลูกค้า เราได้เทส ได้ทดลองเล่นทุกอย่างเลยที่เราอยากลอง นอกจากเรื่องนี้แล้วเนี่ย พี่ ๆ ในแผนกเขาก็ใจดี และเหมือนพยายามให้ความรู้เราตลอดไม่มีกั๊ก รวม ๆ กันแล้วมันทำให้รู้สึกว่าเราสบายใจในการทำงาน เราเลยรู้สึกว่าที่นี่อาจจะเป็นที่ของเรา นี่ก็ทำมาได้ปีหนึ่งแล้วครับ” “จริง ๆ ในทีม Network ผมอยู่ในแผนก Collaboration ครับ เกี่ยวกับ Voice เช่น พวกโปรแกรมประชุมออนไลน์ต่าง ๆ หรือ IP Phone และ Contact Center อย่างงานตัวแรกเลยก็คือ Cisco Webex ถ้าเคยเห็นผ่านๆ ก็จะมีวิดีโอสอนใช้ สุดท้ายพอได้มาทำงานเป็นพนักงานแล้ว ก็ได้เข้ามาอยู่ในส่วนของทีมนี้ครับผม” ซึ่งคุณนนท์ก็ยังได้มีการไปช่วยซัพพอร์ตให้มหาลัยต่าง ๆ เวลาจัดกิจกรรมผ่านโปรแกรมเหล่านี้จนได้รับคำชื่นชมกลับมาอีกด้วย เนื่องจาก MFEC เป็นที่ทำงานที่แรก และคุณนนท์เพิ่งอยู่มาได้ประมาณ 1 ปี แสดงว่าน่ายังจำช่วงที่เรียนได้แม่นยำว่าต่างกับการทำงานอย่างไร “ต่างกันมากเลย ฮ่าๆๆ คือตอนเรียนเราจะได้เรียนแต่ทฤษฎีที่เป็นเนื้อหาใช่ไหม แต่ว่าบางอย่างมันจะไม่เห็นภาพ เช่น พวกคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในอุปกรณ์ Network พอมาอยู่ที่นี่มันเห็นกระบวนการชัดเจนเลยว่าถ้าเราใส่คำสั่งอะไรเข้าไป สิ่งที่มันจะตามมาคืออะไร สิ่งที่ควรระวังคืออะไร มันได้เห็นภาพ ได้เห็นเงื่อนไขจริง ๆ” “ตอนที่เปลี่ยนมาเป็นพนักงานประจำ จริง ๆ ก็มีสัมภาษณ์อีกครั้งนะครับ เพราะ MFEC ก็จะมีมาตรฐานของเขา การฝึกงานมันแค่หมายความว่า พี่ ๆ เขาได้รู้แล้วว่าการทำงานของคน ๆ นี้เป็นยังไง ก็จะต้องประเมินต่อว่าเหมาะกับทีมไหม คำถามตอนสัมภาษณ์ ก็เป็นพวกความรู้ในเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับ Network ซะส่วนใหญ่ แต่ว่าคำถามหลัก ๆ ที่อยากจะให้น้อง ๆ หรือว่าใครก็ตามที่อยากจะเข้าเตรียมตัวมาก็คือ บริการของ Cisco ที่บริษัท MFEC ทำเนี่ย มีอะไรบ้าง ถ้าสมมติผมไม่ได้ทำฝึกงานมานะ ก็จะไม่มีทางรู้อะไรแบบนี้ครับ ใครที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ อยากให้ทำการบ้านมานะเพราะว่าอันนี้เขาถามแน่ๆ ฮ่าๆๆ” “แล้วก็จะมีคำถามแบบลักษณะนิสัยส่วนตัวมากกว่า มีคำถามเชิงจิตวิทยานิดหน่อย เพื่อที่จะเข้าถึงตัวตนของเราอะไรแบบนี้เนอะ นอกนั้นก็จะมีแบบทดสอบของ Network ด้วยหนึ่งอัน แล้วก็จะมีแบบทดสอบของจิตวิทยาหนึ่งอันที่เราต้องทำก่อนที่จะเข้ามา” “แต่สุดท้ายก็อยากบอกเลยว่าพี่ ๆ ทุกคนใจดีมาก ๆ เลย ไม่ใช่แค่ Network นะ แต่เป็นทุกคนจริง ๆ คุยได้ คุยง่ายหมดครับ ใครที่สนใจเข้ามาก็ยินดีต้อนรับนะครับ”

MFEC

MFEC

MORE with BU

วันนี้คุณเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง?  ยังจำกันได้ไหมเมื่อต้นปี 2021 >> https://bit.ly/3CS6KqG MFEC ให้สัญญาจะยืนหยัดต่อความท้าทาย ไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางสภาวะวิกฤตใด ด้วยศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของทุกคนในองค์กร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมที่จะขับเคลื่อนชีวิต Digital ของทุกคน  เราจึงเริ่มปี 2021 มาพร้อมกับคอนเซ็ปต์ “WE MOVE FOR MORE IMPACT” ที่เป็นแนวทางในการดำเนินงานของพนักงานในองค์กรให้ตอบโจทย์กับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไปติดตามบทสัมภาษณ์ของผู้บริหาร และหัวหน้าของแต่ละแผนกกับแนวคิดในการขับเคลื่อนองค์กรครั้งสำคัญพร้อมๆ กัน

MFEC

MFEC