Skip links
View
Drag

CTO Brief

เกมสตรีมมิ่ง อนาคตยุคต่อไปของความบันเทิง

บริการสตรีมมิ่งกำลังเข้ามา disrupt โลกอย่างรวดเร็วในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จากบริการผิดกฎหมายที่ถูกตามจับ ทุกวันนี้คนไทยจำนวนมากสามารถเข้าถึงบริการสตรีมมิ่งทั้งเพลงและภาพยนตร์ได้จากบริการที่หลากหลาย อย่างบริการเพลง เช่น Apple Music, Spotify, JOOX หรือฝั่งภาพยนตร์ก็มีทั้ง Netflix, iflix, VIU แต่อีกอุตสาหกรรมที่อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงคืออุตสาหกรรมเกมที่กำลังจะมีบริการสตรีมมิ่งแล้วเหมือนกัน ตลาดเกมเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง มูลค่าร่วมแต่ละปีประมาณ 3.6 ล้านล้านบาท โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเกมบนโทรศัพท์มือถือ ที่เราหลายๆ คนอาจจะมีโอกาสเล่นเกมฟรี และบางครั้งก็ซื้อไอเท็มในเกมกันอยู่บ้าง แต่อีกครึ่งหนึ่งเป็นตลาดที่ค่อนข้างจริงจัง คือกลุ่มผู้เล่นเกมบนพีซีและคอนโซล เกมในครึ่งหลังนี้หลายครั้งเป็นเกมขนาดใหญ่ ใช้เทคโนโลยีใหม่ ภาพกราฟิกสวยงาม มีการลงทุนสูงนับพันล้านบาทต่อเกมและผู้เล่นเองก็ต้องลงทุนซื้อเครื่องคอนโซลหรือพีซีราคาแพงเพื่อเล่นเกมเหล่านี้ แต่เทคโนโลยีสตรีมมิ่งอาจจะกำลังงขยายตลาดเกมพีซีและคอนโซลให้ทุกคนเข้าถึงได้ภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อปีที่แล้วกูเกิลเปิดบริการ Stadia บริการสตรีมเกมที่ผู้ใช้ต้องมีเพียงเครื่องพีซีราคาถูก โทรศัพท์มือถือ หรือแม้แต่ Chromecast ก็สามารถเล่นเกมที่เคยต้องใช้เกมมิ่งพีซีได้แล้ว ผู้เล่นรายใหม่ที่สามารถจ่ายเงินไม่กี่ร้อยบาทเพื่อเล่นเกมบนอุปกรณ์ของตัวเองได้ทันที ฝั่งไมโครซอฟท์เองก็มีบริการ Project xCloud ที่เริ่มเปิดทดสอบแล้ว ทำให้สามารถเล่นเกมบนโทรศัพท์ Android และ iOS ได้ เทคโนโลยีเบื้องหลังของเกมสตรีมมิ่งมีทั้งบริการคลาวด์ ที่สามารถเตรียมการ์ดกราฟิกไว้รองรับผู้ใช้จำนวนมากพร้อมๆ กัน และเน็ตเวิร์คที่เร็วขึ้นมาก หลายพื้นที่มีบริการคลาวด์ตั้งอยู่ใกล้ๆ คลาวด์บางรายสมัยนี้อาจตั้งอยู่ในเมืองเดียวกับที่เปิดให้บริการเลยทีเดียว เพื่อให้ระยะเวลาหน่วง (latency) ระหว่างเซิร์ฟเวอร์และผู้ใช้นนั้นลดต่ำที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เกมสตรีมมิ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ยังมีอีกหลายปัจจัย ทั้งตัวเทคโนโลยีเบื้องหลัง ราคาค่าแบนวิดท์ที่ไม่แพงเกินไป เพราะ Stadia อาจจะรับส่งข้อมูลถึงชั่วโมงละ 20 กิกะไบต์เลยทีเดียว การเจรจากับผู้ผลิตเกมก็เป็นส่วนสำคัญว่าผู้ผลิตจะยอมนำเกมมาลงบริการใดบ้าง และรูปแบบการเก็บค่าบริการที่ทุกวันนี้ผู้ใช้ยังต้องซื้อเกมบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งอยู่ ไม่ใช่รูปแบบการจ่ายค่าสมาชิกแล้วใช้งานได้ทุกอย่างเหมือนบริการเพลงและภาพยนตร์ แต่หากบริการเกมสตรีมมิ่งประสบความสำเร็จ คนจำนวนมากที่ไม่เคยเล่นอะไรมากกว่าเกมบนโทรศัพท์มือถือก็อาจจะสนใจเล่นเกมจริงจังกันเป็นวงกว้าง – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

MFEC

MFEC

ภาษา Rust ภาษาโปรแกรมมิ่งที่อาจจะเป็นอนาคตของวงการไอที

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้วงการไอทีจะพบว่าความนิยมของภาษาเปลี่ยนไปมาก โครงการใหม่ๆ อย่าง Kubernetes นั้นใช้ภาษา Go ในการพัฒนาแทบทั้งระบบ แต่อีกภาษาหนึ่งที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องคือภาษา Rust ภาษา Rust สร้างโดยวิศวกรของ Mozilla ผู้ดูแลโครงการเบราว์เซอร์ Firefox มันถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับภาษา C/C++ จนสามารถใช้งานพัฒนาซอฟต์แวร์พื้นฐานที่ต้องการประสิทธิภาพสูง เช่น เอนจินของเบราว์เซอร์ หรือจะเป็นระบบปฎิบัติการ จุดเด่นของภาษา Rust คือการป้องกันการใช้หน่วยความจำผิดพลาด ที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยในการเขียนโปรแกรมภาษา C โดยโครงสร้างภาษาไม่อนุญาตให้ใช้งานตัวแปรที่เลิกใช้งานไปแล้ว ฟีเจอร์เช่นนี้คล้ายกับฟีเจอร์ในภาษายุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Java, Python, หรือ Go แต่ Rust ใช้เทคนิคการจัดการหน่วยความจำรูปแบบที่ต่างออกไป ทำให้โปรแกรมไม่ต้องหยุดการทำงานมาจัดการหน่วยความจำ ภาษายุคใหม่อย่าง Java, Go, Python นั้นจะเรียกโค้ดส่วน garbage collector (GC) ขึ้้นมาตรวจสอบการใช้ตัวแปรเป็นช่วงๆ หากพบว่าตัวแปรไม่ได้ใช้งานแล้วก็จะกวาดตัวแปรเหล่านั้นออกจากระบบ จังหวะที่ GC ทำงานโปรแกรมรวมก็จะช้าลงไป แม้จะเล็กน้อยแต่ก็อาจจะกระทบต่อประสิทธิภาพระบบได้ แต่ Rust นั้นไม่มี GC ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานค่อนข้างนิ่งตลอดเวลา บริษัทใหญ่ๆ ให้ความสนใจที่จะใช้ Rust ในโครงการมากขึ้นเรื่อยๆ ไมโครซอฟท์เริ่มใช้ภาษา Rust สำหรับพัฒนาเครื่องมือด้านความมั่นคงปลอดภัย, Cloudflare ใช้พัฒนาโปรแกรมแก้ไข HTML, 1Password โปรแกรมจัดการรหัสผ่านก็พอร์ตบางโมดูลไปแล้ว, กูเกิลเองใช้ Rust กับแอปพลิเคชันขนาดเล็กบนบอร์ด IoT, และล่าสุดบริการแชตยอดนิยมอย่าง Discord ก็ใช้ Rust สำหรับเซิร์ฟเวอร์แจ้งเตือนผู้ใช้เวลามีข้อความใหม่ หรือฝ่ายตรงข้ามอ่านข้อความแล้ว โดยระบุว่าคุณภาพการให้บริการนั้นเสถียรกว่าเดิมมาก – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

MFEC

MFEC

Visualization กับการสื่อสารเหตุการณ์ Coronavirus

ข่าว Coronavirus ที่ระบาดออกมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนสร้างความวิตกเป็นวงกว้าง แต่ก็เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดการวิกฤติได้บางส่วน ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสื่อสารข้อมูลให้ครบถ้วนเข้าใจง่าย เช่นกระทรวงสาธารณะสุขของไทย มีหน้าจอเฝ้าระวังเชื้อ nCoV-2019 นี้โดยเฉพาะ ทำให้ประชาชนสามารถมองเห็นได้ว่าโรคแพร่ไปในบริเวณใด และมีผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน ขณะที่สาธารณะสุขของสิงคโปร์มีการรายงานข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างละเอียดโดยแจ้งวันที่ผู้ป่วยเดินทางมาถึงสิงคโปร์, พื้นที่ที่พักอาศัย, และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ข้อมูลเหล่านี้หากอ่านจากข้อความก็จะนึกภาพตามได้ยาก จึงมีผู้นำข้อมูลทั้งหมดมาพล็อตเป็นแผนที่บนเว็บ https://sgwuhan.xose.net/ ทำให้สามารถดูได้โดยง่ายว่ามีพื้นที่ไหนอยู่ในความเสี่ยงบ้าง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟิกเช่นนี้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถรับข้อมูลจำนวนมากได้ง่ายขึ้น สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำ ในประเทศไทยเองช่วงเหตุการณ์ฝุ่น PM2.5 ก็มีแอปสร้างแผนที่ฝุ่นออกมามากมาย ทำให้เราสามารถตัดสินใจใส่หน้ากากออกจากบ้านในช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัย จะเห็นว่าการสร้าง dashboard ที่สื่อสารข้อมูลได้ครบถ้วน ทั้งในเวลาปกติและเวลาฉุกเฉินเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อจากการสร้างระบบรายงานและจัดเก็บข้อมูลที่ดี – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

MFEC

MFEC

Visualization กับการสื่อสารเหตุการณ์ Coronavirus

ข่าว Coronavirus ที่ระบาดออกมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนสร้างความวิตกเป็นวงกว้าง แต่ก็เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นว่าเราสามารถใช้เทคโนโลยีมาช่วยจัดการวิกฤติได้บางส่วน ส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการสื่อสารข้อมูลให้ครบถ้วนเข้าใจง่าย เช่นกระทรวงสาธารณะสุขของไทย มีหน้าจอเฝ้าระวังเชื้อ nCoV-2019 นี้โดยเฉพาะ ทำให้ประชาชนสามารถมองเห็นได้ว่าโรคแพร่ไปในบริเวณใด และมีผู้ป่วยมากน้อยแค่ไหน ขณะที่สาธารณะสุขของสิงคโปร์มีการรายงานข้อมูลผู้ป่วยค่อนข้างละเอียดโดยแจ้งวันที่ผู้ป่วยเดินทางมาถึงสิงคโปร์, พื้นที่ที่พักอาศัย, และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา ข้อมูลเหล่านี้หากอ่านจากข้อความก็จะนึกภาพตามได้ยาก จึงมีผู้นำข้อมูลทั้งหมดมาพล็อตเป็นแผนที่บนเว็บ https://sgwuhan.xose.net/ ทำให้สามารถดูได้โดยง่ายว่ามีพื้นที่ไหนอยู่ในความเสี่ยงบ้าง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟิกเช่นนี้ทำให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถรับข้อมูลจำนวนมากได้ง่ายขึ้น สามารถตัดสินใจได้รวดเร็วและแม่นยำ ในประเทศไทยเองช่วงเหตุการณ์ฝุ่น PM2.5 ก็มีแอปสร้างแผนที่ฝุ่นออกมามากมาย ทำให้เราสามารถตัดสินใจใส่หน้ากากออกจากบ้านในช่วงเวลาที่ไม่ปลอดภัย จะเห็นว่าการสร้าง dashboard ที่สื่อสารข้อมูลได้ครบถ้วน ทั้งในเวลาปกติและเวลาฉุกเฉินเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อจากการสร้างระบบรายงานและจัดเก็บข้อมูลที่ดี – – –โดยวสันต์ ลิ่วลมไพศาลChief Technology Officer, MFEC

MFEC

MFEC