Skip links
View
Drag

AR และ VR คืออะไร เกี่ยวข้องกับเกมอย่างเดียวหรือไม่?

การเติบโตของ AR และ VR 

AR มาจากคำว่า Augmented Reality เป็นการสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาในโลกความจริงมีทั้งรูปแบบแว่นตาและแอปพลิเคชันในโทรศัพท์ ส่วน VR มาจากคำว่า Virtual Reality คือการเสมือนว่าเราหลุดเข้าไปในอีกโลกนึง เป็บรูปทรง headset คล้ายแว่นตาและหูฟังโดยสามารถใช้กับอุปกรณ์อื่นๆเพื่อความสมจริง แนวคิดของ AR และ VR มีอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลานานตั้งแต่เมื่อประมาณ 20 ถึง 30 ปีที่แล้ว ในเวลานั้นตู้เกมภาพ 3 มิติก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในห้างสรรพสินค้า เมื่อกลับมามองในปัจจุบัน VR ที่มีราคาตั้งแต่หลักหมื่น หรือจนถึงหลักแสนก็ยังถือว่าคุ้มค่าหากเทียบกับคุณภาพและการพัฒนาทางเทคโนโลยีจากอดีต 

ข้อจำกัดของ AR และ VR 

แม้ว่า AR และ VR จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ในอดีต และปัจจุบันกลายเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันทั่วไปและเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น แต่ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ 

  • Motion Sickness: หรือบางคนเรียกว่าอาการเมารถ โดยเกิดจากมองภาพเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องโดยขณะที่ตัวไม่ได้ขยับไปไหน นี่เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ขณะเล่นเกมด้วย ซึ่งแน่นอนว่าการสวม AR และ VR ก็สามารถทำให้เกิด Motion Sickness ได้เนื่องจากภาพที่อยู่ตรงหน้าเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ความร้อนจากเครื่อง และน้ำหนักของเครื่องที่คอยหน่วงเมื่อต้องเอียงหัวไปมา 
  • การสวมแว่นสายตา: แว่นตานั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับคนสายตาสั้น ยาว หรือเอียง และเป็นที่น่าเสียดายที่ AR และ VR บางชนิดก็ไม่เอื้อให้คนใส่แว่นสายตา ทำให้หลายๆคนไม่สามารถเล่นได้ ซึ่งตัวของ AR และ VR สามารถปรับให้เหมาะกับผู้ที่สวมแว่นสายตาได้โดยการทำพื้นที่ด้านในให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้สามารถสวมทับแว่นสายตาได้หรือเพิ่มการปรับโฟกัสในตัว 
  • สภาพแวดล้อม: แม้ว่า AR และ VR จะมีรูปร่างคล้ายแว่นตาที่มีขนาดเล็ก แต่ก็ยังคงต้องเตรียมพื้นที่ไว้โดยประมานเวลาใช้งาน เพราะเมื่อสวมใส่จะไม่สามารถมองเห็นภายนอกได้และบางครั้งก็ทำให้เวลาที่ขยับตัวอาจจะไปโดนของที่อยู่โดยรอบได้ 
  • ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้: เป็นประเด็นที่ Apple พูดถึงและมองว่าเป็นอันตรายต่อผู้ใช้เนื่องจากโดยปกติเว็บไซต์ จะสามารถตรวจจับ pointer ได้ อย่างการเล่นคอมพิวเตอร์ก็คือการตรวจจับลูกศรเม้าส์แต่ไม่สามารถตรวจจับสายตาได้ว่ามองหรืออ่านอะไรอยู่ ซึ่งเมื่อเป็น VR นั้น pointer จะเป็นสายตาโดยตรง ทางด้าน Apple จึงจะห้ามการตรวจจับ pointer แต่ยังสามารถรับรู้ได้ว่าผู้ใช้เข้าใช้งานเว็บไซต์อะไรบ้าง

เทคโนโลยี AR และ VR ในช่วงปัจจุบัน 

Apple Vision Pro 

เป็นการผสมผสานของ VR และ AR ของ Apple มีกำหนดวางจำหน่ายในช่วงต้นปี 2024 โดยออกแบบมาเพื่อความบันเทิงและการทำงาน และด้วยการเป็น AR ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ และลดข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ใช้สอยลง การสแกนใบหน้าเป็นฟังก์ชันที่สามารถใช้ในการประชุมออนไลน์ได้ โดยผู้เข้าร่วมประชุมจะสามารถเห็นใบหน้าของผู้ที่สวม Apple Vision Pro ได้นั่นเอง 

XREAL Air 

เป็นแว่นตา AR รูปทรงคล้ายแว่นกันแดด การใช้งานเพียงแค่เชื่อมต่อ USB-C กับอุปกรณ์อื่นและทำให้อุปกรณ์นั้น ๆ เป็นจอใหญ่ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้อาศัยการตรวจจับการเคลื่อนไหวมากนัก ทำให้คิดว่าหรือบางทีแค่การมองเห็นจอที่ใหญ่ขึ้นอาจจะเพียงพอแล้วต่อการเป็น AR และ VR 

ตัวอย่างในชีวิตจริงนอกเหนือจากการเล่นเกม 

จากตัวอย่าง AR และ VR นั้นจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีเพื่อการเล่นเกมเพียงอย่างเดียว โดยบางคนอาจจะต้องการมีเพราะความต้องการส่วนตัว และบางองกรค์ก็เริ่มใช้ในการทำงานแล้ว เช่น 

  • Work From Home: อย่างที่กล่าวไปใน Apple Vision Pro ที่มีระบบสแกนใบหน้าทำให้ผู้เข้าประชุมสามรถเห็นใบหน้าของผู้สวมใส่ การใช้งานร่วมกับแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมอื่น ๆ ก็สามารถเพิ่มความสมจริงในที่ทำงานเสมือนว่าเราไม่ได้ทำงานอยู่ที่บ้าน ซึ่งเหมาะสำหรับใครที่อยากได้บรรยากาศภายในออฟฟิศ เนื่องจากในปัจจุบันมีการทำงานเป็น hybrid เทคโนโลยี VR ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อใครหลายๆคนนั่นได้เอง 
  • การศึกษา: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้พัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถใช้กล้องโทรศัพท์ส่องที่รูปภาพในหนังสือเรียนและจะเห็นเป็นภาพ 3 มิติเพื่อให้นักเรียนได้ทำความเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น และยังกระตุ้นให้มีความสนใจในการเรียนรู้อีกด้วย
  • การทำงานหรือการฝึกงาน: โดยส่วนมากจะใช้ในการฝึกพนักงาน เช่น นักบินอวกาศ NASA ใช้ VR เพื่อฝึกการเดินในอวกาศ ซึ่งก็ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆเพื่อความสมจริง หรืออย่าง Walmart ที่ใช้ เพื่อฝึกอบรมพนักงานโดยการสร้างการจำลองของร้านค้า ช่วยให้พนักงานฝึกจัดชั้นวางและช่วยเหลือลูกค้าได้ 

ถึงแม้ว่า AR และ VR ที่มีรูปทรงคล้ายแว่นตาจะมีข้อจำกัดทำให้ผู้ใช้เป็นคนเฉพาะกลุ่ม หรือบางคนอาจจะยังติดภาพการใช้งานเฉพาะในการเล่นเกม แต่ก็เห็นได้ว่าหลายๆองกรณ์หรือบริษัทได้นำเทคโนโลยีนี้มาประกอบการทำงานและการเรียนรู้แล้ว ไม่แน่ว่าเทคโนโลยี AR และ VR อาจจะถูกใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นและพบเห็นได้ทั่วไปในอนาคต 

รับชมวิดีโอเพิ่มเติมได้ที่ : https://youtu.be/2uoBF1-zeLk 

แหล่งที่มาของข้อมูล :  

https://blog.cloudhm.co.th/ar-vr/

https://www.reworked.co/digital-workplace/

https://www.ipst.ac.th/teaching/3368/ar-application.html