Skip links
View
Drag

ChatGPT เข้าใจภาษามนุษย์ได้ยังไง? (แม้กระทั่งพิมพ์ผิด)

ในช่วงที่อุตสาหกรรม AI กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว หนึ่งในตัวที่สร้างความฮือฮาให้กับผู้คนมากที่สุดคือ ChatGPT ด้วยความที่สามารถพูดคุยโต้ตอบภาษามนุษย์ได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว มีความสามารถหลากหลายไม่ว่าจะในด้านการเขียน ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านเทคนิค ไปจนถึงหาช่วยค้นหาข้อมูล

และอีกหนึ่งสิ่งที่น่าประทับใจคือมันสามารถเข้าใจคำสั่งของผู้ใช้งานได้ถึงแม้ว่าจะสะกดผิดหรือพิมพ์ผิดไวยกรณ์ด้วยซ้ำ เลยเป็นสาเหตุให้คนตื่นตาตื่นใจกับมากและหันมาสนใจการใช้ AI ในการช่วยทำงานมากขึ้น

มันเข้าใจเราได้อย่างไร ?

แก่นหลักของ ChatGPT เลยคือระบบประมวลผลข้อมูลที่ถูกออกแบบมาให้คล้ายคลึงกับการทำงานของสมองมนุษย์ โดยมันไม่ได้ถูกฝึนฝนมาให้แค่อ่านตัวอักษรที่พิมพ์ไปให้ แต่มันถูกฝึกให้ตีความประโยคจากทั้งวิธีการพิมพ์ การใช้คำ บริบท ความเชื่อมโยงของเนื้อหาแต่ละส่วน และพยายามหาความสัมพันธ์ของทุกอย่างเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ข้อความเหล่านั้นต้องการจะสื่อให้มากที่สุด เหมือนกับการสื่อสารของมนุษย์เลย

ในการฝึกฝน ChatGPT อ่านและทำความเข้าใจข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลบนโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งบทความ บทสนทนา บริบทต่าง ๆ ข้อมูลมากมายมหาศาลนี้ทำให้ ChatGPT คุ้นเคยกับคอนเซ็ปต์ของภาษาและการใช้บริบทมากขึ้น ทำให้มันมีความเข้าใจในภาษาศาสตร์มากพอที่จะพูดคุยสื่อสารกับผู้ใช้งานได้เหมือนมนุษย์คนหนึ่ง โดยใช้ภาษาทั่วไปได้เลย

ทำไมมันถึงตอบได้เร็วมาก ๆ ?

ChatGPT มีความสามารถในการตอบสนองต่อคำสั่งอย่างรวดเร็วเหมือนกับในบทสนทนาที่คุยกับคนอยู่จริง ๆ การทำงานเบื้องหลังการตอบสนองที่ว่องไวขนาดนี้มาจากเทคนิคการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันด้วยพลังประมวลผลที่มหาศาลของ ChatGPT เมื่อได้รับคำสั่ง ChatGPT จะย่อยคำสั่งเป็นข้อมูลเล็ก ๆ และประมวลผลพร้อมกัน วิธีนี้ช่วงเร่งให้การตอบสนองเกิดขึ้นอย่างว่องไวและให้ความรู้สึกเหมือนพูดคุยอยู่กับมนุษย์ด้วยกันได้มากขึ้น

สะกดผิด แกรมม่าผิด ก็ยังเข้าใจ ?

หนึ่งในสิ่งที่น่าประทับใจของ ChatGPT คือมันสามารถเข้าใจสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจะสื่อสารได้ แม้ว่าจะสะกดผิดหรือไม่ถูกไวยกรณ์ก็ตาม ทั้งนี้มาจากฝึกฝนอย่างหนักด้วยโมเดล Natural Language Processing (NLP) และ Large Language Model (LLM) เนื่องจากได้เห็นข้อความหลากหลายอย่างมาก ซึ่งรวมไปถึงข้อความที่สะกดผิดด้วย ทำให้มันมีความฉลาดมากขึ้นและคาดเดาสิ่งที่ผู้ใช้ต้องการจะสื่อได้ ไม่ใช่แค่เรื่องของการสะกด แต่ไปถึงการคาดเดาบริบทและจุดมุ่มหมายที่ผู้ใช้ต้องการถึงแม้ว่าผู้ใช้จะพิมพ์มาไม่ค่อยรู้เรื่องก็ตาม

การฝึกฝนอย่างเข้มข้น

การฝึกฝน ChatGPT ให้ฉลาดอย่างนี้แบ่งเป็นสองขั้นตอนหลัก ๆ ด้วยกัน คือ 1. Pre-Training กับ 2. Fine-Tuning

ในขั้นตอน Pre-Training ตัวโมเดลจะถูกนำเสนอด้วยชุดข้อมูลที่กว้างขวาง และเรียนรู้ที่จะเชื่อมคำ เดาคำหรือประโยคที่ต่อมา เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างของภาษา ขั้นตอนนี้ทำให้ ChatGPT มีความเข้าใจด้านไวยากรณ์ บริบท และความซับซ้อนของภาษามากยิ่งขึ้น

ในขั้นตอน Fine-Tuning จะเริ่มเป็นการให้โมเดลที่มีความเข้าใจในภาษาแล้ว เริ่มรับคำสั่งและเรียนรู้คำตอบของคำสั่งเหล่านั้นเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องทำ ขั้นตอนนี้มีการควบคุมโดยมนุษย์จริง ๆ ซึ่งใช้เวลาและแรงงานมากพอสมควร เพื่อให้ได้โมเดลที่ฉลาดและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด

การฝึกฝนสองขั้นตอนนี้ทำให้ ChatGPT มีความยืดหยุ่นสูงมากทั้งในด้านการเข้าใจภาษาและการหาข้อมูลมาตอบคำถามต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่ามีความรู้กว้างขวางอย่างมากเลยทีเดียว

ทาง MFEC เองก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการศึกษาและฝึกฝนให้พนักงานใช้ ChatGPT ตั้งแต่ช่วงแรกที่มีการเปิดตัว ทำให้ปัจจุบันพนักงานในองค์กรคุ้นเคยและใช้เครื่องมือนี้ในการทำงานทุกวัน รวมไปถึงมีการถ่ายทอดความรู้ในการนำ ChatGPT ไปใช้กับองค์กรให้กับบริษัทอื่น ๆ อีกมากมายตลอดในช่วงที่ผ่านมา

สนใจบริการต่าง ๆ ของทาง MFEC สามารถดูเพิ่มเติมและติดต่อได้ที่: https://www.mfec.co.th/solutions-and-services/

#MFEC #AI