Skip links
View
Drag

EP.2 “API Gateway”

จากบทความที่แล้ว ได้พูดถึงคนกลางที่ชื่อ “API Gateway” มีหน้าที่บริหารจัดการทั้งการสื่อสาร การจัดการสิ่งที่ “Core Engine” แต่ละตัวต้องการแตกต่างกัน ให้สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้อย่างสมบูรณ์

ในพาร์ทนี้ จะบอกเล่าอีกขั้นของตัวกลางนั้นในชื่อว่า “API Management” โดยความสามารถจะทั้งเป็นตัวกลาง ตัวประสานงาน การจัดการด้านข้อกำหนดของการสื่อสาร จำนวนข้อความที่จะสื่อสารระหว่างกัน การซ่อนหรือการเพิ่มหรือแม้แต่การแก้ไขบางส่วน ก่อนส่งหรือรับกลับ สามารถจัดการได้ทั้งบน Cloud และ On-premise และผ่านตัวบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ (Single pane of glass)

APIGee Hybrid เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่มีความสามารถครอบคลุมที่ได้กล่าวมาข้างต้น ซึ่งนั้นเป็นแค่เพียงบางส่วนของความสามารถทั้งหมดครับ #APIGee เป็นผลิตภัณฑ์ กลุ่ม “API Managment” หากอ้างอิงตาม Gartner จะมีการกำหนดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่ใช้ในการประเมินดังนี้

1. Devloper portals : ระบบบริการตนเอง (เหมือนเป็นพวก self-portal, self-services ครับ) ที่อำนวยความสะดวกให้ ผู้ใช้งาน (ไม่ว่าจะผู้ดูแลระบบ, developer ที่จะเข้ามาใช้งาน, หรือกลุ่มผู้ใช้งานต่าง ๆ) สามารถเข้ามาเพิ่มลด กำหนด ตั้งค่า ต่างๆ เพื่อใช้งาน API ที่ต้องการได้ มองทั้งความครบถ้วนของการกำหนด ค่าสำหรับ API – ความละเอียด ของการลงค่ากำหนด อย่างเหมาะสม (ไม่ซับซ้อน หรือ ละเอียดจนเกินจำเป็น แบบว่ามีไปก็เก๋ดี แต่ไม่ได้ใช้งาน เพราะบางระบบลงขนาดเหมือนให้เขียน code ส่วนนั้นเองไปเลยก็ fine gain ไปนิดส์) – ความไม่ซับซ้อน ของการกำหนดค่าต่างๆ เพราะบางที ทำ ๆ ไป งง ว่าทำถึงไหน เกี่ยวกับหน้าจอเมื่อครู่อย่างไร ทำไปทำมา ขอเริ่มทำใหม่ หรือ ไม่ก็ต้อง จดละเอียดมาก ๆ เพื่อให้การกำหนดค่า ทำได้ครบถ้วนไม่หลงทาง – ความชัดเจนของการกำหนด เงื่อนไขต่างๆ มี UI ที่บอกว่ากำหนดถึงขั้นตอนไหน (ลดความซับซ้อน จากที่กล่าวข้างต้น) และเงื่อนไขต่างๆ ไม่ขัดแย้งกันเอง ระหว่างการกำหนดค่าใช้งาน

2. API Gateways : มีระบบบริหารจัดการ ระบบประมวลผล (Runtime) รวมถึง ค่าความปลอดภัย และการใช้งานของ API ที่เราสร้างขึ้นมา เพื่อให้สามารถติดตาม ได้ว่าการทำงานเป็นไปตามที่ต้องการขณะประมวลผล (Runtime) และหากมีบางอย่างไม่ถูกต้อง ระบบสามารถสื่อสารกลับมาให้ผู้ใช้งานเข้าใจและ เข้าถึงเพื่อแก้ไข ได้สะดวกเพียงใด

3. Policy management and analytics : การกำหนดค่าต่างๆ เช่นค่าความปลอดภัยของ API (Security), API Mediation Layer (API ML) ที่มีความฉลาดในการจัดการ การสื่อสารเป็นตัวกลางที่ดีและปลอดภัยระหว่างกัน (Gateway with secured communication across loosely coupled API services) มีความฉลาดในการสำรวจค้นหาและสรุปบริการที่มีในระบบ (Discovery Service) และ ยังจัดหมวดหมู่ จำแนกชนิดของบริการที่สำรวจพบให้นำมาใช้งานได้อย่างสะดวก (Catalog)

สำหรับ #APIML หากมีความสนใจอย่างไร บอกได้เลยนะครับ ผมจะนำมาขยายความให้ในโอกาสต่อไปครับ

4. API Design and development : เรียกง่าย ๆ ว่า มองปุ๊บรู้ใจกันปั๊บ เป็นการเขียนชี้แจง ส่วนต่าง ๆ ของระบบ ทั้งค่ากำหนดเครื่องมือ เครื่องใช้ ที่เข้าใจง่ายสามารถทำให้ผู้ใช้งาน ออกแบบ กำหนดค่าต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ทั้งตรงตามความต้องการ และสอดคล้องกับความสามารถของระบบเอง ตรงนี้หากมองหลัก ๆ ก็จะเป็นกลุ่ม UX/UI design ที่ดี

5. API Testing : มีระบบการทดสอบมาให้เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าและทดสอบเพื่อให้มั่นใจว่าค่ากำหนด ถูกต้องตามที่ต้องการรวมถึงมีตัวช่วยทดสอบกลุ่ม non-functional เช่น Performance test, Security Test สำหรับ API ที่ ผู้ใช้กำหนดขึ้นมาใช้งานในระบบ

โดยหลักการประเมิน 5 ข้อนี้ จะช่วยในการเลือกใช้เครื่องมือ “API Management” ที่เราจะนำมาใช้ในองค์กร ของเราครับ ว่ามีความครบถ้วนในแต่ละด้านมากน้อยเพียงใด

#Note: รูปด้านล่างนี้ เป็น Magic Quadrant ของกลุ่ม “Full Life Cycle API Management” โดยแต่ละ Vendor ถูกจัดวางตาม Quadrant ตามการประเมินจากที่กล่าวข้างต้นครับ

“APIGee” เป็นผลิตภัณฑ์นึงในตลาด “API Management” ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (อ้างอิงตาม Gartner September 2021) “APIGee” เองอยู่ในตำแหน่ง ขวาบนสุด ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าเป็นผู้นำในตลาดใช้งานง่าย มี product roadmap อีกมากที่จะพัฒนา ในกลุ่มของ “API Management”

“APIGee” เอง มี 2 รูปแบบในการใช้งานครับ
1. APIgee เป็นบริการแบบพร้อมใช้ (Software as a Services) ไม่ต้องออกแบบ หรือวาง infra foundation เอง ระบบจะจัดการการประมวลผล ให้สอดคล้องกับ workload ที่เราจะใช้งาน ตามเงื่อนไขที่ตกลงในเงื่อนไขบริการ
2. APIGee Hybrid เป็นบริการ ที่สามารถนำมาติดตั้ง ไปยัง environment ต่าง ๆ ได้ทั้ง On-premise, On-cloud แต่ละ platform ได้ เพื่อให้เกิดความเหมาะสม ต่อการใช้งาน และ สอดคล้อง ต่อนโยบาย ความปลอดภัยของแต่ละองค์กร.

โดยมีตัวบริหารจัดการ infra foundation ที่คอยดูแลเรื่อง availability, reliability, security และอื่น ๆ ให้กับตัว APIGee Hybrid (จะมีลงรายละเอียดให้ ในบทต่อๆ ไปครับ)

ในบทความถัดไป จะลงลึกใน Key features ยอดนิยม ในกลุ่ม Enterprise มาบอกเล่านะครับ เพื่อให้เป็นแนวทางว่า จำเป็นต้องมีทุก key features เลยหรือไม่ เพราะอาจไม่จำเป็นต้องใช้ APIGee แต่ใช้ผลิตภัณฑ์ ใกล้เคียงตัวอื่นและเมื่อ มีความซับซ้อนมากขึ้นค่อยมาใช้ APIGee ภายหลัง ครับ •^^