Skip links
View
Drag

Low-Code อนาคตของการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับองค์กร 

หัวใจอย่างหนึ่งของการปรับปรุงการทำงานขององค์กรที่ต้องการทำ Digital Transformation คือการปรับกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติยิ่งขึ้น ข้อมูลที่เกิดขึ้นในขั้นตอนต่าง ๆ อยู่ในรูปแบบที่สามารถติดตามผลประมวลผลต่อไปข้างหน้าได้ แต่องค์กรจำนวนมากก็มักจะพบว่า การพัฒนาซอฟต์แวร์กลายเป็นคอขวดสำคัญของการทำ Digital Transformations ผู้ปฎิบัติงานต้องพบกับกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ล่าช้า ใช้เวลายาวนาน หลายครั้งไม่ตรงตามความต้องการของคนทำงานจริง หรือหากกระบวนการทำงานมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ ซอฟต์แวร์ก็ไม่สามารถปรับตามได้เร็วพอ 

แนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชันอย่างง่ายนี้เป็นแนวทางที่มีมานาน บริการ Low code ยอดนิยม เช่น Microsoft PowerApps นั้นเปิดตัวตั้งแต่ปี 2015 ผู้ให้บริการ Low code ระดับองค์กรหลายแห่ง ก็ให้บริการมาก่อนหน้านั้นโดยมักปรับแต่งจากแอปพลิเคชันเฉพาะทางสำหรับบางธุรกิจมาก่อน ในช่วงหลังสตาร์ตอัพหน้าใหม่อย่าง Retool ก็หันมาสร้างแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Low code โดยเฉพาะ 

แนวทางนี้ยังทำให้บริษัทหลายแห่งลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์ม Low code แบบโอเพนซอร์ส โครงการ เช่น AppSmith, ToolJet หรือ Budibase ซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงปี 2020-2022 แม้หลายโครงการจะเริ่มมาก่อนหน้านั้นหลายปี 

กวันนี้องค์กรจำนวนมากน่าจะใช้ Low code บางส่วนอยู่แล้ว Gartner คาดว่าการใช้งานจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตตลาดถึง 25% ต่อปีเทียบกับอัตราการใช้จ่ายเงินเพื่อระบบไอทีขององค์กรที่เติบโตประมาณ 5.1% ต่อปี หรือซอฟต์แวร์ระดับองค์กรก็ยังเติบโตปีละ 11.3% ต่ำกว่าการเติบโตของ Low code ชัดเจน อัตราการเติบโตระดับนี้ เราน่าจะเห็นการใช้งานระบบต่าง ๆ เป็น Low code มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยสาเหตุหลักคือค่าแรงของพนักงานสายเทคโนโลยี ขณะที่องค์กรต่าง ๆ ต้องการปรับกระบวนการทำงานของตัวเองให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้นเรื่อย ๆ 

ดตามเรื่องราวของ Low code / No code เพิ่มเติมได้ที่ >> https://youtube.com/playlist?list=PLG41fT3KG9vuHiLrhcwRmD0s77VnOV5id