Skip links
View
Drag

PDPA มีประโยชน์กับใครบ้าง

เหตุผลในการมาของ PDPA เกิดจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดช่องทางการสื่อสารต่างๆ ที่หลากหลายขึ้น นำมาซึ่งการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลที่ทำได้ง่ายขึ้น และหลายครั้งก็สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล จึงต้องมีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA นี้ขึ้นมาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ขึ้นมา โดยกฎหมายนี้จะส่งผลประโยชน์ให้ตัวบุคคลและภาคส่วนต่างๆ ดังนี้
⠀⠀
ประชาชนทั่วไป 🙋‍♀️
✅ ข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูลจะถูกจัดเก็บได้อย่างปลอดภัย
✅ ลดความเสียหายจากการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
✅ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการทราบวัตถุประสงค์การจัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล
✅ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการอนุญาต หรือไม่อนุญาต และถอนความยินยอมให้จัดเก็บข้อมูลได้
✅ เจ้าของข้อมูลมีสิทธิในการขอให้ลบ หรือระงับการใช้ข้อมูลได้
✅ เจ้าของข้อมูลสามารถร้องเรียน ขอค่าสินไหมทดแทนได้ หากข้อมูลถูกใช้งานผิดจากวัตถุประสงค์ที่แจ้ง
⠀⠀
ภาคธุรกิจ 🧑‍💼
✅ ธุรกิจสามารถเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในมาตรฐานของการจัดเก็บข้อมูล
✅ ธุรกิจสามารถสร้างโอกาสในการทำธุรกิจที่มีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
✅ ธุรกิจสามารถเพิ่มกระบวนการทำงาน กลไกที่มีประสิทธิภาพ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กรที่เหมาะสม
✅ ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรทางด้านธรรมาภิบาล การดำเนินการที่เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ สร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
⠀⠀
ภาครัฐ 📜
✅ มีระบบที่มีความทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ในด้านกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
✅ มีมาตรการกำกับดูแล รวมถึงเครื่องมือกำกับการดำเนินงานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ
✅ มีธรรมาภิบาล การดำเนินงานด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้
✅ สร้างสังคมที่เข้มแข็ง เนื่องจากสามารถตรวจสอบการดำเนินงานภาครัฐ และภาคธุรกิจเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความถูกต้องเหมาะสม
✅ ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศในด้านประสิทธิภาพการคุ้มครองข้อมูล
⠀⠀
จะเห็นได้ว่า PDPA เป็นกฎหมายที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับประโยชน์ของการดูแล และคุ้มครองความปลอดภัยในข้อมูลเป็นอย่างมาก และถึงแม้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ได้มีการประกาศเลื่อนกำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ หรือ PDPA ไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทุกคนในฐานะพลเมืองก็ควรศึกษากฎหมายให้มีความรู้และความเข้าใจ เพื่อผลประโยชน์ และการรักษาสิทธิของตนเองตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น